พัฒนาองค์กรสู่นวัตกรรม ด้วยการปลุกพลังของ Passioneer สัมภาษณ์พิเศษ Chief Disruption Officer แห่ง Food Passion | Techsauce

พัฒนาองค์กรสู่นวัตกรรม ด้วยการปลุกพลังของ Passioneer สัมภาษณ์พิเศษ Chief Disruption Officer แห่ง Food Passion

เมื่อพูดถึงบริษัทที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม และปลูกฝังให้คนในองค์มีความกระตือรือร้น กล้าคิดนอกกรอบ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ หลายคนคงจะคิดถึงบริษัทที่มีพื้นฐานมาจากธุรกิจดิจิทัลก่อน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกภาคธุรกิจ อยู่ที่หัวเรือใหญ่ ผู้นำองค์กรตระหนักและเห็นความสำคัญมากน้อยแค่ไหน โดยวันนี้เราจะไปพูดคุยกับธุรกิจที่ไม่ได้เริ่มต้นจากมาจากดิจิทัล แต่เป็นร้านอาหารชื่อดังที่ใครหลายคนรู้จักกันดี และมีกิจกรรมที่สร้างวัฒนธรรมในองค์กรที่แข็งแรงมาอย่างต่อเนื่อง

บริษัทนั้นคือ Food Passion ผู้นำธุรกิจร้านอาหาร เจ้าของแบรนด์ดังอย่าง BBQ Plaza ซึ่งดำเนินธุรกิจมากว่า 30 ปีแล้ว เริ่มต้นจากธุรกิจครอบครัว และปัจจุบันขยับขยายสาขาไปทั่วประเทศ ทีมงานผู้บริหารคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่เข้าใจถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร นำทีมโดย ชาตยา สุพรรณพงศ์ Chief Engagement Officer และ เรืองชาย สุพรรณพงศ์ Chief Disruption Officer  โดยตำแหน่งหลังนี้ถือเป็นตำแหน่งที่อาจไม่คุ้นชินในบ้านเรานัก แต่ในต่างประเทศเราเริ่มเห็นตำแหน่งนี้กันมากขึ้น โดยเฉพาะในองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านนวัตกรรม (Corporate Innovation) โดยตรง เป็นหัวเรือใหญ่ที่คอยดูความเคลื่อนไหวของภาคธุรกิจองค์รวมทั้งในส่วนนวัตกรรม โมเดลธุรกิจประเภทไหนที่จะถูกปฏิวัติเปลี่ยนแปลงไป?  และจะปรับตัวอย่างไรในช่วงที่เทคโนโลยีเข้ามามีผลกระทบแบบก้าวกระโดดอย่างทุกวันนี้? โดยหนึ่งในภารกิจที่เป็นรากฐานสำคัญ คือการเตรียมความพร้อมให้กับบุคคลากรนั่นเอง

ช่วงต้นปี 2017 ในงานแถลงข่าวผลประกอบการของ Food Passion ได้เผยถึงกลยุทธ์สำคัญหนึ่งออกมาก่อนหน้า นั่นคือ คิดแบบ Startup เน้นให้เกิดประสบการณ์ (experimental) ใหม่ๆ เรียนรู้จากสิ่งนั้น และปรับตัวอย่างรวดเร็ว ผ่านไปหนึ่งปี เป็นอย่างไรกันบ้าง เราไปติดตามกรณีศึกษานี้กัน

โครงการสร้าง Passioneer ในองค์กร

ปีที่ผ่านมาเราพัฒนาโครงการที่ชื่อ Passion LAB ​#ห้องทดลองของคนมีของ เรามีความเชื่อว่าความสุขที่ยั่งยืน เกิดจากการมีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยนวัตกรรม เราแบ่งโครงการออกมาทั้งหมดเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเลยก็คือ Incubate บ่มเพาะไอเดียของคนในองค์กร สร้าง Passioneer ขึ้นมา เปิดโอกาสให้พนักงานที่สนใจที่มีไอเดียดีๆ อยากแก้ปัญหาอะไรบางอย่างในสังคม สามารถมานำเสนอ โดยทีมที่เข้ารอบจะได้

  1. เข้ามาเรียนรู้ เราจัดหลักสูตรพิเศษที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงการไอเดียของพวกเขาให้ตลอด 4 เดือน ฝึกวิธีคิดแบบ Design Thinking วิธีการทำงานแบบ Scrum
  2. เชิญ mentor ที่ปรึกษานอกองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ โดยตรงมา
  3. เงินทุนในการพัฒนาไอเดีย
  4. ที่ปรึกษาคล้ายๆ ครูประจำชั้น ที่จะคอยแนะนำให้กับคุณตลอดเส้นทาง

และในอนาคตจะมีโอกาสพัฒนานวัตกรรมร่วมกับ Startup ภายนอก และรวมถึงการลงทุนในรูปแบบกลยุทธ์เพื่อนำเทคโนโลยีกลับมาใข้ในองค์กร

อะไรคือแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้คนอยากมาร่วมโครงการเพราะงานเดิมตัวเองก็มีเยอะอยู่แล้ว?

จุดนี้สำคัญมากเพราะบางคนอาจกังวลเรื่องงานประจำที่ทำอยู่ เราจึงมีการกำหนดข้อตกลงกับหัวหน้างานเอาไว้อย่างชัดเจนก่อน และงานเดิมก็ต้องไม่เสีย อย่างเช่น เวลาที่ต้องใช้กับโครงการนี้เป็นอย่างไร ถ้ากำหนดข้อตกลงเอาไว้ให้ชัดเจนแต่แรกเรื่องนี้ก็จะลดลงไป

แน่นอนว่าการเข้าร่วมโครงการสำหรับทีมผู้ชนะทั้ง 3 ทีมเรามีเงินรางวัลให้ จริงๆ แล้วแม้ไม่ใช่เงินจำนวนมากอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเราสัมผัสได้ คือ ความภูมิใจของ Passioneer ทุกคนที่มีโอกาสได้ทำตามฝันและไอเดียของพวกจริงๆ นอกจากนั้นยังได้โอกาสเรียนรู้จากหลักสูตรพิเศษที่เราจัดให้ ซึ่งไม่ใช่เป็นแค่ประโยชน์ในโครงการนี้เท่านั้น ยังเป็นประโยชน์และดีต่อตัวพวกเขาเองด้วย

ย้อนกลับมาที่องค์กรของทาง Food Passion เองได้อะไร

จากที่ได้ดำเนินโครงการดังกล่าว ในปีผ่านมา เราพบว่า Passion Lab สามารถสร้างคุณค่าและประโยชน์แก่บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กรได้โดยตรง

  • Talent Activator : จากโครงการนี้เราได้เห็น Talent ของหลายๆ คนที่มาร่วมโครงการอย่างชัดเจนว่าใครถนัดอะไร ใครเก่งอะไร เราจะพัฒนาพวกเขาไปต่อได้อย่างไร
  • หลักสูตรที่เรานำมาสอน working methodology เป็นแบบใหม่ สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้หลังจากจบโครงการสามารถนำกลับไปใช้กับงานหลักที่มีอยู่ได้ และทุกครั้งที่จะพัฒนาอะไรขึ้นมา ทุกคนจะมองไปถึงเราจะช่วยอะไร “ลูกค้า” ก่อนเสมอ
  • วัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง ที่พร้อมรองรับคนมีไฟ มีฝัน มี passion มีไอเดีย มีความกระตือรือร้น

หลังจากโครงการนี้เราจะได้เห็นอะไรต่อ?

ปีนี้เราก็จะมีการจัด Batch 2 อีก และนำเอาประสบการณ์ที่ได้จาก Batch 1 ไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น และอย่างที่เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ ด้วยโครงการนี้เราจะเริ่มสร้างนวัตกรรมที่ทำงานร่วมกับภายนอกมากขึ้นด้วย

ถ้าให้นิยาม "Secret Sauce" สูตรความสำเร็จของ Food Passion คืออะไร

สำหรับ Secret Sauce ของเรา  ทุกอย่างคือมองย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นมาจากแก่นวิสัยทัศน์และความตั้งใจหลักขององค์กร ทุกอย่างเราเริ่มต้นถามตัวเองก่อนว่า Why? ตามด้วย How? แล้วค่อย What? ไม่ใช่บอกว่าเราจะทำอะไรเลย สำหรับ Food Passion การดูแลผู้คนให้มีความสุข โดยมีอาหารเป็นสื่อกลาง นี่คือหน้าที่หลักขององค์กร และสิ่งนี้จะถูกนำไปอิมพลีเมนต์ในส่วนต่างๆ อย่างโครงการของ Passion LAB ก็เช่นเดียวกัน ด้วยโจทย์ที่เราอยากสร้างความสุขที่ยั่งยืน แล้วจะทำได้อย่างไร? เราก็มองว่า ต้องมีนวัตกรรมเข้ามาช่วย แต่การที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมได้ คนของเราก็ต้องพร้อม ต้องมีทักษะเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งเหล่านี้สะท้อนออกมาในรูปแบบของหลักสูตรที่สอนพนักงานที่เข้าร่วมโครงการนั่นเอง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...