พาธุรกิจก้าวข้ามวิกฤตด้วย Outward Mindset พร้อม Unpack กลยุทธ์ความสำเร็จของกลุ่มบริษัท Food Passion | Techsauce

พาธุรกิจก้าวข้ามวิกฤตด้วย Outward Mindset พร้อม Unpack กลยุทธ์ความสำเร็จของกลุ่มบริษัท Food Passion

“จะทำอย่างไรให้องค์กรเติบโตเเบบก้าวกระโดดในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้” โจทย์สำคัญที่หลายหน่วยงานพยายามหาวิธีมาอัพเกรด ติดอาวุธให้บุคคลากร ในครั้งนี้ Techsauce ร่วมกับ SEAC เเชร์ความรู้ที่จะช่วยเเนะเเนวทางให้องค์กรที่ต้องการอัพเกรด และติดอาวุธให้เก่งขึ้น ควรเริ่มต้นอย่างไร?

สร้างเป้าหมาย 

ก่อนเข้าสู่บทเรียนคงต้องมาทำความรู้จักกับกระบวนการคิดที่เเบ่งเป็น 3 ส่วน ได้เเก่ 400% , ง่ายขึ้น, Change  ที่จะช่วยวัดผลลับขององค์กร จากผลสำรวจจากนักวิชาการการพบว่า องค์กรที่สามารถระบุ Mindset ที่มุ่งหวังได้จะประสบความสำเร็จในการสร้างการเปลี่ยนเเปลงมากกว่าองค์กรที่มองข้ามจุดๆ นี้ถึง 4 เท่า ปัจจุบันหลายองค์กรอาจมุ่งเน้นพัฒนาองค์กรไปในเชิงพฤติกรรม เช่น การให้คนในองค์กรทำงานมากขึ้น, เสริมความรู้ให้กับพนักงาน สุดท้ายแล้วพฤติกรรมเหล่านี้สามารถทำให้องค์กรไปสู่จุดหมายหรือสิ่งที่ตั้งไว้จริงหรือ?  

ก่อนหน้านี้องค์กรส่วนมากตั้งเป้าเติบโตขึ้นทุกปี แต่ในช่วงวิกฤตเเบบนี้ทำให้ทุกองค์กรอาจเปลี่ยนเป้าหมายที่มุ่งเน้นการอยู่รอดช่วง Covid-19 ที่ล๊อคดาวน์ไป 2 เดือน ซึ่งเราจะปรับตัวในระยะเวลาสั้นๆ อย่างไรให้ทันวิกฤตและจะยังคงสร้างการเติบโตให้องค์กรต่อไปได้ จากประสบการณ์ตรงของ บริษัท Food Passion ที่นำวิธีนี้มาใช้งานในบริษัทได้กล่าวว่า ได้เริ่มพัฒนาองค์กรในระยะเวลาจำกัดโดยเริ่มจากสร้างทีม Scrum ที่เเข็งเเกร่งจากการปรับ Mindset ด้วยเเนวคิดที่ว่าการสร้างทีมเราไม่สามารถบังคับใครได้ ดังนั้นการสร้าง Mindset ให้คนทำงานร่วมกันและเห็นใจกันเเละกัน มีเป้าหมายที่มองภาพเดียวกันได้ คือส่วนสำคัญสำคัญในการฝ่าวิกฤตพร้อมพัฒนาองค์กรไปสู่การเติบโตที่ตั้งไว้

วิธีคิดนอกกรอบ ให้การทำงานระหว่าง “คน กับ คน” เป็นเรื่องที่….”ง่ายขึ้น”

Mindset หากแบ่งจากรูปแบบการทำงานของคนจะเเบ่งได้ 2 ประเภท คือ คนที่ทำให้งานง่ายขึ้น กับ คนที่ทำงานให้ยากขึ้น เชื่อว่าหลายคนไม่อยากทำงานที่ยากขึ้นแต่ไม่รู้ว่าตอนนี้เราอยู่ประเภทไหนเเล้วเราจะทำอย่างไร? หากเปรียบเทียบด้วยพฤติกรรม 

  • คนที่ทำงานให้ยากขึ้น จะมองเพียงความต้องการของตน มุ่งเน้นที่วัตถุประสงค์ของตน มองผู้อื่นเป็นเพียงวัตถุ ที่เรียกว่า Inward “ผู้อื่นไม่สำคัญเท่ากับฉัน” ผลลัพธ์ของงานจะกลายเป็นคิดคนเดียว
  • คนที่ทำงานให้ง่ายขึ้น จะมองเห็นถึงความต้องการวัตถุประสงค์ ความท้าทาย ของผู้อื่นด้วยความคิดที่เห็นถึงความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน ให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ของผู้อื่นด้วย เรียกว่า Outward “ผู้อื่นมีความสำคัญเท่ากับตน”  ผลลัพธ์ของงานจะกลายเป็นการร่วมคิดของทีม

การสร้างทีมในระยะเวลาอันสั้นเพื่อสร้างงานให้เกิดขึ้นช่วงสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้สิ่งสำคัญอาจไม่ใช่การสร้างกิจกรรมจากพฤติกรรมเดิมๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์แต่เราต้องเริ่มสร้าง Outward Mindset ให้เกิดขึ้นในองค์กร สิ่งนี้จะเป็นฐานของการสร้างทีมที่เเข็งเเกร่งเเละพร้อมสร้างงานอย่างรวดเร็วได้ เพราะเมื่อคนในองค์กรมีความพร้อมทั้งความรู้และความคิดอยากทำงานให้สำเร็จร่วมกัน ผลลัพธ์ของงานจะออกมาตามวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกัน ถึงแม้จะเจออุปสรรค แต่เมื่อฐานองค์กรอย่าง คน พร้อมก็สามารถผ่านไปได้ง่าย

อย่ามองว่า คนไม่เก่งคือ อุปสรรค แต่ต้องดึงความสามารถเฉพาะของบุคคลนั้นมารวมทีมสร้างงาน

ในหลายองค์กรมักมีคนหลายประเภทรวมถึงความสามารถที่หลากหลายเเตกต่างกันออกไปตามความถนัดของตนซึ่งเป็นเรื่องอยากในการรวมคนที่แตกต่างให้อยู่ร่วมกัน บริษัท Food Passion ได้พูดให้เห็นภาพจากประสบการณ์ในองค์กรในช่วงที่ต้องสร้างงานในระยะเวลาเพียง 2 เดือนให้สำเร็จว่า 

  • เมื่อองค์กรเจอกับวิกฤตและต้องสร้างงานให้เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้นแถมทุกอย่างนั้นถูกจำกัดหมดไม่ว่าจะเป็น  บุคลากร  เงินทุน  เวลา สิ่งหนึ่งที่ทางองค์กรเริ่มสร้างให้เกิดขึ้นก่อนเริ่มสร้างงานคือ สร้างทีมแบบ Scrum และสร้าง Outward Mindset มองวัตถุประสงค์ที่ต้องสร้างงานให้สำเร็จรวมกันขึ้นเพื่อสร้างรากฐานที่เเข็งเเรงพร้อมรับทุกสถานการณ์และอุปสรรคให้ ทีมงาน ก่อนสร้างงาน
  • ลดขั้นตอนการทำงานเพราะเรามีข้อจำกัดเรื่องเวลาดังนั้นหากเราต้องทำงานให้เร็ว เราต้องไว้ใจทีม ในเรื่องของการตัดสินใจเมื่อส่งตัวเเทนหัวหน้าทีมไปทำงานต้องเชื่อใจและพร้อมให้เพื่อนร่วมทีมตัดสินใจ
  • สร้างทีมที่ดีอย่ามองผู้อื่นเพียงเพราะเขาเก่ง ความชอบ หรือ มองเป็นเพียงพาหนะไว้ใช้งาน เเต่ต้องสร้างทีมโดยทุกคนมีความสำคัญ เห็นความคิดและไอเดียทุกคนมีความสำคัญเท่าๆ กันสร้างให้คนในทีมกล้าเเสดงความคิดเห็น ไม่มีใครเหนือกว่าใครแต่ทุกคนมีผลลัพธ์ร่วมกัน ที่ไม่ใช่ต่างคนต่างเป็นอุปสรรคของกันเเละกัน

สร้าง Mindset ให้คนในองค์กร “กล้าลองผิด กล้าลองถูก” จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนเเปลง

สำหรับองค์กรขนาดเล็กเป็นเรื่องง่ายที่จะกล้าลองผิด ลองถูก กล้าลองทำสิ่งใหม่แต่ใช่ว่าขนาดองค์กรจะเป็นอุปสรรค เพราะการสร้างความกล้าในตัวบุคคลเราเเค่เริ่มสร้าง Mindset ให้คนในองค์กร หรือ ผู้ใหญ่ในองค์กร มองเห็นว่าทุกคนเป็น คน ทุกความคิดไม่มีสิ่งใดที่ไม่ดี ทุกความผิดพลาดใช่ว่าต้องถูกตำหนิ ถูกต่อว่า แต่ให้มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคือจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับความคิดใหม่ๆ จากคนในองค์กรที่อยู่ร่วมกัน หากสามารถสร้างความคิดนี้ให้เกิดขึ้นเชื่อว่าจะมีคนอีกมากจะกล้าลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ความคิดดีๆ ให้องค์กร เพราะเราทลายกำเเพงความกลัวไปแล้ว

สุดท้ายเเล้วนั้นการปรับเปลี่ยนบางอย่างให้ดีขึ้นไม่ใช่เรื่องยากแค่ลองเปลี่ยน Mindset เปลี่ยนมุมมองก็สามารถสร้างรากฐานของคนให้พร้อมรับมือกับอุปสรรคหรือ วิกฤตได้เเละพร้อมพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด 

สามารถดาวน์โหลด Material ของ session นี้ https://bit.ly/2Dj1AL0 และทำแบบทดสอบได้ที่ arbinger.seasiacenter.com 

สมัคร YourNextU อัปเดตทักษะให้ตัวคุณก้าวทันโลกแบบไม่จำกัด พร้อมรับส่วนลดถึง 500 บาทได้แล้ววันนี้ - 5 กันยายน 63

เหลือเวลาอีก 3 วันเท่านั้น สำหรับการใช้สิทธิ์ส่วนลดสมัครเรียน YourNextU ได้ครบทุกทักษะที่ตลาดต้องการ สมัครวันนี้รับส่วนลดถึง 500 บาท เมื่อซื้อแพคเกจ Virtual Class หรือ Full-access ใช้ได้ทั้งราย 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี

เพียงกรอกโค้ด TSSE500

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมสมัครได้ที่ www.yournextu.com

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...