6M6S- ปัญหา ทางออก และ อนาคต ของ Ecosystem ประเทศไทย | Techsauce

6M6S- ปัญหา ทางออก และ อนาคต ของ Ecosystem ประเทศไทย

*ทุกอย่างเป็นประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองที่คลุกคลีกับวงการ  Technology และ Startups มาในต่างประเทศ  Silicon Valley, Indonesia, Southeast Asia และประเทศจีน บทความโดย  Casper Sermsuksan

ต้องขอบคุณโควิด-19 ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสอยู่ในไทยและคิดถึงการทำธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ startup ในประเทศไทย โดยลองคิดและใช้ประสบการณ์ที่ได้มาจากการทำงานและการใช้ชีวิตทั้งในและต่างประเทศ

ผมเคยเป็น Product Manager & Marketing Manager ของบริษัท gaming startup ใน Silicon Valley & London ที่ถูกบริษัทในตลาดของออสเตเลียซื้อไป, ทำธุรกิจ food delivery startup ที่ Indonesia แข่งกับ Go-JEK และ Grab, เป็น Google Scholar ของโปรแกรม Blackbox Connect ที่ San Francisco, เป็น Alibaba eFounder Co-Chair ของประเทศไทยและอินโดนีเซีย, ก่อตั้ง SEA Bridge บริษัทที่ปรึกษาในการขยายตลาดในย่าน Southeast Asia และช่วยธุรกิจ startups หลายรายขยายเข้าประเทศไทยและอินโดนีเซีย รวมถึงเป็นที่ปรึกษาของ กองทุน Quest Ventures ที่เป็น VC ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล Singapore (Temasek) และ รัฐบาล Qazaqstan เป็นชาวต่างชาติคนเดียวที่ได้รับรางวัล 40 Under 40 ของนิตยสาร Prestige Indonesia และ speaker ในงานระดับโลกและภูมิภาค

การที่ผมได้เดินทางไปทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศจีนและASEAN ทุกๆครั้งที่เราบอกว่า I’m from Thailand ก็จะมีคนถามมาเสมอว่า ทำไมประเทศไทยถึงไม่มี Unicorn ส่วนมากผมก็ตอบตาม macro view ที่เราได้เห็นเช่น ตลาดประเทศไทยเล็ก corporate ของไทยแข็งแรงมาก founder ของไทยไม่ได้ think regional from day one ซึ่งมันก็เหมือนกับข้ออ้างที่ทำให้เราไม่ต้องนั่งคิด 

ผมได้เข้าไปเสนอที่รัฐสภาครั้งหนึ่งเมื่อปลายปีที่แล้ว เกี่ยวกับรัฐบาลอินโดนีเซีย และ tech ecosystem ของเขา โดยที่เน้นสามหัวข้อหลักตามที่ผมได้ไปช่วยและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่รัฐบาลอินโดนีเซียจัดขึ้น (slide) และอยากให้รัฐบาลไทยนำมาปรับใช้

  1. Free Market, Yet Favor Locals เปิดตลาดเสรี แต่ช่วยผู้ประกอบการในประเทศ
  2. Facilitate, Not Regulate อำนวยความสะดวก ไม่ใช่สร้างกฏ
  3. Work with Disruptor, Not Incumbents ทำงานกับคนที่กำลังสร้าง innovation ไม่ใช่ปกป้องคนที่ไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง

จนถึงช่วงโควิดที่ผมต้องปิดและหยุดการดำเนินการของบางบริษัทผมลงไป ก็ได้กลับมานั่งคิดทบทวนว่าและได้คุยกับคนในวงการหลายๆคน ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับทิศทางของประเทศไทยและ tech ecosystem ของเรา บางท่านถึงกับถามว่า เรามี ecosystem จริงหรือ ถ้ามีอะไรคือ common goal ของเรา 

ผมจะเขียนถึงปัญหาที่ผมเห็นและข้อเสนอทางออกซึ่งหวังว่าทุกคนที่อ่านจะได้นำไปใช้ทำให้ ecosystem เราพัฒนาไปข้างหน้าได้ วันนี้ผมจะลองเขียนอย่างจริงจังที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Brutally Honest ผ่าน 5M6S หวังว่าทุกคนรวมถึงตัวผมเองจะได้กลับมาอ่านแล้วย้อนคิดดูว่าจะทำยังไงให้เราทุกคนไปถึงฝั่งฝัน ถ้ามันทำให้ท่านใดไม่พอใจ ขออภัยล่วงหน้าด้วยครับ 

ปัญหาของ ecosystem เรา: The 6 M’s

1. Macro View: เชิงภาพรวมของประเทศ เราเสียเปรียบด้วย

  • ตลาดที่เล็ก(กว่าตลาดเพื่อนบ้าน) โดยคิดจากจำนวนประชากร ที่เป็นอันดับที่สี่ รองจาก อินโดนีเซีย ฟิลลิปปิน และ เวียดนามใน ASEAN
  • ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศใน ASEAN ที่มี aging society ทำให้ไม่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน startup

2. Mindset:

  • ของ entrepreneurs: ถึงแม้เราจะเป็น top destination สำหรับการท่องเที่ยวของโลก แต่ในทางกลับกัน entrepreneur ส่วนมากของไทยไม่ได้มีการ active ในการหาและติดต่อนักลงทุนต่างประเทศ รวมทั้ง ความขี้เกรงใจ และ ความสบายๆ ของเรา มันขัดกันกับสิ่งที่นักลงทุน VC มองหาในตัว entrepreuers เช่น ความกระหาย และ ความดื้นด้าน
  • ของ คนไทยด้วยกันเอง: ที่ยังไม่ support product ของเราด้วยกันเอง คนส่วนมากคิดว่า startup คือ เว็บ หรือ app ของคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีอะไรมากและมีความเสี่ยงสูง นักลงทุนไม่กล้าลงทุน และ ผู้ใช้ไม่กล้าใช้เพราะคิดว่าคงสู้ brand ต่างประเทศไม่ได้ และ ยังดูถูกศักยภาพของผู้ประกอบการชาวไทย แต่ถ้ามองในมุมกลับกันทุกๆ global product ก็เคยเป็น local product มาก่อน

3. Model: ไม่มี role model หรือ mentor ที่มีประสบการณ์ใน startup จริง

  • ความใหม่ของ startup ecosystem ทำให้ยังไม่มีคนมีประสบการณ์ในการปั้น startup อย่างแท้จริงและผ่านการระดมทุนแบบ VC หรือ โตแบบก้าวกระโดด ผู้มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ในไทย คือคนที่ทำธุรกิจ Technology SMEs ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่ง fundamental มันต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งคำปรึกษาจากคนที่ประสบความสำเร็จทางด้านอื่นมาก็จะ distract ทำให้ startup founders ไม่ได้รับคำแนะนำที่เหมาะกับการสร้าง startup อย่างแท้จริง

4. Money: ขาดการสนับสนุนด้านทุนแบบ startup game จริงๆ ในระยะเริ่มต้น

  • นักลงทุนใน startup ของไทยส่วนมากไม่ใช่ Financial VC โดยตรง เพราะฉะนั้นสิ่งที่นักลงทุนตามหาก็จะไม่ตรงกับ financial VC แต่ด้วย limited options ที่มีทำให้เราอาจจะไม่มีตัวเลือกมานักในไทย หลายๆ financial VC ถือว่าการลงทุนด้วย PE / Corporate VC ก็เหมือนกับการขายบริษัทแล้ว ทำให้เค้าไม่เลือกที่จะลงทุนต่อ เราเป็น ecosystem ที่ดีสำหรับ later stage startups แต่ยังขาดฟันเฟืองที่จะดันไปให้ถึงจุดนั้น
  • ในขณะเดียวกันกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็น fundamental ของประเทศ ได้แก่ e-commerce (Lazada, Shopee, Jd), chat (Line), media (FB, Google, YouTube), logistics (Lalamove, Kerry), taxi booking (Grab), food delivery (Grab, LineMan, GET, FoodPanda) ซึ่งเกือบทุกเจ้าทุกเจ้าใช้กุลยุทธ์เดียวกันคือ subsidization ขายต่ำกว่าทุน เพื่อทำลายคู่แข่งที่ทุนน้อยกว่า เพื่อซื้อ market share เพื่อให้โตไวที่สุด จะได้ว่าเกือบทุก fundamental ของประเทศถูกกินเรียบโดยบริษัทต่างชาติ ทุนหนา ทั้งหมด 

5. Media over Merit: หน้าตาสำคัญกว่าผลงาน

  • สังคมบ้านเราเน้นเรื่องหน้าตาและภาพลักษณ์เป็นอย่างมาก ทำให้ทุกคนตามหาความดังและมีชื่อเสียงในสังคมมากกว่า การใช้เวลาทำงานและสร้าง innovation จริงๆ จากบทสนทนากับนักลงทุนต่างประเทศ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกับว่า entrepreneurs ไทย “get famous too quickly” ในทางกลับกัน การสนับสนุน startup ในหลายๆปีที่ภาพมา ก็เป็นการสนับสนุนเชิงภาพลักษณ์ขององค์กร มากกว่าการสนับสนุน startups ที่แท้จริง

6. Manpower: บุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสร้างและพัฒนา technology ในเชิง continuous improvement

  • นอกจากปัญหาทางด้านภาษาแล้ว ประเทศไทยยังมีปัญหาทางด้านบุคคลากรที่คุ้นชินในการสร้างและพัฒนา technology โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาแบบ continuous improvement หรือ การปรับปรุงกระบวนการและผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง บุคคลากรทางด้าน technology ส่วนมากจะเป็น software house ที่ทำตามใบสั่งและทำจบเป็นโปรเจคไป เราต้องปรับจากหนึ่งในประเทศที่มีสัดส่วนผู้ใช้ internet สูงที่สุดในโลก มาให้เป็นประเทศที่มีบุคคลการในการพัฒนา technology ให้สูงที่สุดอย่างน้อยในภูมิภาคเอเชียให้ได้ อย่างเช่นเวียดนาม ตอนนี้เรามีบุคคลกรที่มีความสามารถในด้าน media กับ creative เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติแล้ว ถ้าเราเพิ่มความสามารถทางด้าน technology เข้าไปได้จะทำให้เราเดินหน้าอย่างก้าวกระโดดได้อย่างแน่นอน

ทางออกผ่าน the 6 S’s

ผมคิดว่ายังมีความมั่นใจในศักยภาพของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาโควิดที่ทำให้ทุกคนกลับมาสู้และช่วยเหลือกันซึ่งผมคิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของความพิเศษของคนไทยที่น่าจะเอามาใช้ต่อได้ เลยอยากจะฝากข้อคิดกับทุกๆคนที่ทำธุรกิจ startup, ผู้บริหารธุรกิจใหญ่ที่คิดจะลงทุนหรือทำงานร่วมกันกับ startup, และหน่วยงานภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจเหล่านี้ โดยผมจะใช้ประสบการณ์ที่เห็นมาจาก ecosystem ต่างประเทศเป็นตัวอย่าง

1. Singapore Model: ในเมื่อ macro view ไม่ support เรา เราก็ต้องใช้ความคิด ในการเข้ามาเป็นตัวเชื่อมของภูมิภาคอาเซียน

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผมให้สัมภาษณ์กับโครงการ Young SEAkers ที่จัดโดยนักเรียน NUS จากสิงคโปร์ ก็จะเห็นแนวคิดและการปลูกฝั่งให้คนสิงคโปร์ทำธุรกิจและหาประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียนและจีน เวลาที่คิดธุรกิจก็จะคิดถึง Southeast Asia (SEA) ไม่ใช่แค่ Singapore เพราะด้วยตลาดที่เล็ก เค้าจึงถูกบังคับให้คิดแบบนั้น ประเทศไทยควรที่จะเอาความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยว เป็นจุดเชื่อม CLMMV และ SEA รวมตลาดเพื่อนบ้านเราและทำธุรกิจ cross-border

 2. Steal: ยืม role model จากต่างประเทศ 

จากประสบการณ์ที่ผมได้ทำงานใน Silicon Valley ผมเห็นว่าคนที่เคยทำธุรกิจ startup จนเป็น unicorn แล้วขายบริษัท หรือ นำเข้า IPO ได้ก็จะกลับมาเป็น mentor ให้กับ startup founder รุ่นใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้เขาสามารถหา short-cut ได้ จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศน่าเที่ยวและน่าอยู่ เราสามารถทำ special program / special visa ให้คนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในไทยเป็นการชั่วคราว พร้อมทั้งนำเงินและ connection ที่พวกเขามีมาใช้ใน ecosystem ของเราได้

3. Show: โปรโมทภาพรวมประเทศไปด้วยกัน

จะเห็นว่า VC, government, startup founders เองใน ecosystem ใช้เวลาช่วงบุกเบิกตลาดในการช่วงกัน โปรโมทว่า อินโดนีเซียมีดียังไง ทำไมทุกคนต้องมาลงทุกที่นี่ ก่อนที่จะพูดถึงตัว startup ของผลงานของตัวเอง เพราะทุกคนเชื่อว่า นักลงทุนไม่ได้เพื่อแค่ startup แต่มาเพื่อทั้งตลาด การที่ทุกคนพูดไปในทิศทางเดียวกัน เกี่ยวกับ potential ของตลาด ทำให้นักลงทุนหลังจากฟังจากหลายๆฝ่ายก็จะมีความเชื่อมั่นระดับหนึ่ง รัฐบาลอินโดนีเซียยังจัด road show 1,000 Startups ไปทั่วประเทศในการจัดงาน startup เพื่อพูดถึง digital economy และ โปรโมท startups ที่ผู้ก่อตั้งเป็นคนอินโดนีเซีย เพื่อช่วยเพื่อ credibility ให้คนมาลองใช้

ทุกๆคนต้องมีส่วนร่วมในการ show อนาคตของ technology company ให้กับทั้งเด็กรุ่นใหม่ และ คนรุ่นเก่าให้เข้าถึงความสำคัญต่อสังคมไทยและประเทศของเรา ก่อนที่เราจะเสียอธิปไตยทางดิจิตอลไปอย่างแท้จริง

4. Share: ในตลาดที่เล็ก และ limited เราควรที่จะแชร์และทำ partnership กันมากกว่าทำทุกอย่างด้วยตัวเอง

จากฝั่งรัฐบาลของอินโดนีเซีย มีการให้ preferred treatment กับ startups ของอินโดนีเซียเองด้วยลูกเล่นต่างๆ เช่น ให้ผูกกับ service ของรัฐก่อน startup ต่างประเทศ แล้วค่อยเปิดกว้างให้ startup ต่างชาติมาใช้ทีหลัง จะทำให้ local startups ของเขามี advantage เรื่องเวลาและ users เราก็เห็นแล้ว่า service ต่างๆของรัฐ อย่างเช่น app เป๋าตัง และ เราไม่ทิ้งกัน.com มีคนสมัครเข้าร่วมเป็นอย่างมาก ถ้า startups คนไทยได้ช่วยโปรโมท service ของรัฐ (ไม่จำเป็นต้อง limit ไว้เจ้าเดียว) และรัฐเปิดให้ดึงบาง service มาเป็น feature ของ platform หรือ app ได้ก็จะทำให้ startup ไม่ต้องเสียเงินค่า user acqusition ไป ดีกว่าการจ้างบริษัทมาทำ app หรือ platform เป็นครั้งๆทุ่มเงินจำนวนมากแล้วก็ไม่มีคนใช้

แต่ทางตัว startups เองก็ไม่สามารถจะรอแต่รัฐบาลได้ ก็ควรที่จะทำ partnership / integration กับ corporates และ startups ด้วยกันเองและทำให้ users มีประสบการณ์ที่ดีขึ้น ตัวอย่างที่ดีในช่วงโควิดก็คือการทำ collaboration ระหว่าง startups Hungry Hub สตาร์ทอัพขายดีลบุฟเฟ่ต์ร้านอาหาร กับ Airportels สตาร์ทอัพจัดส่งกระเป๋าจากไปยังสนามบินและโรงแรม ซึ่งผมคิดว่าเราไม่ควรอที่จะเจอวิกฤตก่อน ถึงจะมาช่วยกันหรือทำงานด้วยกันเท่านั้น

5. Support: ร่วมด้วยช่วยกันในสิ่งที่ตัวเองมีและตัวเองถนัด

ผมหวังว่า startup ecosystem ของเราจะมีการเข้ามา volunteer ในส่วนที่ตัวเองถนัด อาทิเช่น ผู้บริหารบริษัทใหญ่ๆที่มี partner อยู่ทั้งในและต่างประเทศ อาจจะไม่ต้องลงทุนใน startup แต่ช่วย connect หรือ ผู้คนที่มีประสบการณ์เฉพาะทางและทำงานอยู่กับบริษัทยักษ์ใหญ่ในไทยและต่างประเทศ เข้ามาช่วยสอนและแนะนำระบบเพื่อให้ startup ได้ใช้และเรียนรู้จาก top of field ด้วย นักลงทุนที่ไม่ได้ลงทุนในบริษัท ช่วยหา investors ในเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำให้ ecosystem บ้านเรากลับมาคึกคักอีกครั้ง คนไทยกลับมาสนับสนุนของคนไทยด้วยกันเอง ให้เวลาและช่วยพัฒนาไปด้วยกัน

สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือเราควรใช้โอกาสนี้ในการช่วย reskill และ upskill ให้กับบุคคลที่ว่างงานและตกงานมากมาย ในการพัฒนาทักษาทางด้าน technology ไม่ใช่แค่ใช้เป็น แต่ต้องพัฒนาให้ได้ด้วย มันไม่สมเหตุสมผล ถ้าบริษัท startup และ technology บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า หาคนมาทำงานทางด้านนี้ไม่ได้ ไม่พอ แต่ในเวลาเดียวกับมีจำนวนคนที่ว่างมากเพิ่มมากขึ้นหลายเท่า

6. Serious: ทำตามข้อ 1 ถึง ข้อ 5 อย่างจริงจัง ไม่ใช่ทำเพื่อ ชื่อเสียงส่วนตน หน้าตาภาพลักษณ์ แต่ทำเพื่อส่วนรวมและ ecosystem ของเราอย่างแท้จริง อย่างประโยคที่พูดติดปากกันว่า “It takes the whole village to build a unicorn”

ผมคิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้ถ้าเราจริงจังกับการเข้ามาเป็นส่วนร่วมในส่วนใดส่วนนึงของ ecosystem นี้ ที่ผ่านมาหลายฝ่ายได้นำเสนอคำแนะนำและร้องขอที่เป็นปะโยชน์ไปแล้ว แต่ผมอยากจะเสนอ framework ที่ให้ทุกคนเข้ามาช่วยกันคิดและหาทางออกไปด้วยกัน เพื่อที่จะพัฒนาบริษัท technology ของคนไทย ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งในศักยภาพของคนไทย เรามีบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายรายในประเทศ เรามี tech conference ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกอย่างเช่น Techsauce Global Summit แล้วทำไมเราจะมีบริษัท technology ของเราเองไม่ได้

ผมอยากทิ้งทายไว้ว่า 

Thailand 4.0 จะเกิดไม่ได้ ถ้าเรายังไม่มี Thai Startups และ Ecosystem ที่แข็งแรงและอยู่ได้ด้วยตัวเอง ใครจะแคร์เกี่ยวกับคนไทยมากกว่าคนไทยด้วยกันเอง

ผมว่ามันถึงเวลาที่ทุกคนต้องกลับมามองตัวเองแล้วตอบคำถามว่า What Can I Really Do for My Ecosystem, My Home? แล้วใช้ Covid-19 เป็น turning point ของ ecosystem บ้านเรา แล้วไทยเราจะชนะ ไทยเราจะไม่ทิ้งกัน ไทยเราจะมี บริษัท technology ที่น่าภาคภูมิใจ

บทความนี้เขียนโดย: Casper Sermsuksan #TheCastalyst www.linkedin.com/in/casperisto

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...