Ken Griffin ไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้ฝากเงินใน SVB ได้รับการช่วยเหลือ ควรปล่อยให้เป็นบทเรียนเรื่อง Moral Hazard | Techsauce

Ken Griffin ไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้ฝากเงินใน SVB ได้รับการช่วยเหลือ ควรปล่อยให้เป็นบทเรียนเรื่อง Moral Hazard

Ken Griffin ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ Citadel เป็นหนึ่งในเศรษฐีและผู้จัดการกองทุนที่ไม่เห็นด้วยกับการแทรกแทรงของรัฐบาลในเรื่องของธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ที่มีปัญหา ตามมาด้วยธนาคารอื่นๆ ที่เจอปัญหาเรื่องสภาพคล่องและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพจนรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยอุ้มธนาคารและผู้ฝากเงิน

Griffin ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ว่าการที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) เข้ามาแทรกแทรงและให้ FDIC คุ้มครองวงเงินของผู้ฝากเงินแบบเต็มจำนวนนั้น จากเดิมเพดานการรับประกันสูงสุดอยู่ที่ 250,000 ดอลล่าห์ การทำแบบนี้จะทำให้เกิดความสูญเสียเรื่องวินัยทางการเงิน และเป็นการทรยศต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของสหรัฐอเมริกาแบบต่อหน้าต่อตา

เขามองว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกานั้นแข็งแกร่งมากพอที่จะปล่อยให้ผู้ฝากเงินของ SVB สูญเสียเงินของพวกเขาทั้งหมด เพื่อที่จะให้ได้เป็นบทเรียนเรื่อง Moral Hazard ทำไม Griffin ถึงมีมุมมองที่แตกต่างจากคนอื่น แล้วอะไรคือ Moral Hazard ผู้ฝากเงินมีทางเลือกอะไรบ้าง Can Bitcoin fix this? หาคำตอบได้ในบทความนี้

Ken Griffin

อ่านบทความ: SVB Financial Group ยื่นล้มละลาย ย้อนอ่าน Timeline วิกฤต Silicon Valley Bank

Moral Hazard คืออะไร

จริยวิบัติ หรือ Moral Hazard คือการที่ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มธุรกิจ เข้าหาความเสี่ยงมากขึ้นเพราะรู้ว่ามีการรับประกันอยู่ จึงไม่ต้องห่วงผลของการกระทำ เพราะมีคนอื่นรับผิดชอบให้ โดยแนวคิดนี้มักจะถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์ในกรณีที่มีการออกมาตรการช่วยเหลือหรือมีการเข้ามาอุ้มกิจการ รวมไปถึงนโยบายการยกเลิกหนี้ต่างๆ โดยภาครัฐ

ยกตัวอย่างกรณีของ SVB ที่รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ ทำให้ทุกคนที่รู้ตัวว่าจะได้รับการช่วยเหลือนั้น มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเพราะรู้อยู่แก่ใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือแน่นอน ก่อให้เกิดปัญหาการจัดการความเสี่ยงที่นำไปสู่ความผิดพลาดทางการเงินในที่สุด เกิดเป็นวัฐจักรของ Moral Hazard ที่วนเวียนระหว่างภาคธุรกิจและภาครัฐ ที่ต้องการเพิ่มความเสี่ยงเพื่อหวังผลกำไรมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันความเสี่ยงก็สามารถนำไปสู่การล้มละลายได้

Source: SketchBubble

ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

จากเหตุผลข้างต้นทำให้หลายคนมีความเห็นที่แตกต่างกัน ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลออกมาตรการมาช่วยเหลือธนาคารที่กำลังมีปัญหาและกำลังจะล้ม นอกจาก Ken Griffin ที่ไม่เห็นด้วยแล้วยังมีนักเศรษฐศาตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค Nouriel Roubini ที่ออกมาทวีตว่าการที่เฟดหรือธนาคารกลางสหรัฐฯ เข้ามาช่วยเหลือผู้ฝากเงินที่ได้รับผลกระทบจากธนาคาร Signature Bank ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี่เป็นหลัก ว่าเป็นอภิมหาจริยวิบัติ (“mother of [all] moral hazards”) ที่สร้างผลประโยชน์ให้กับคนที่ไม่คู่ควรหรือพวกต้มตุ๋น

Lawrence Summers อดีตเลขากระทรวงการคลังสหรัฐฯ สนับสนุนการออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายและมองว่าเป็นการปกป้องผู้คนที่มีการตัดสินใจผิดพลาด และไม่ใช่เวลาที่จะมาสอนหรือซ้ำเติมเรื่องของ Moral Hazard โดยหลังจากการทวีตของ Lawlence รัฐบาลก็ได้ออกมาประกาศช่วยเหลือผู้ฝากเงินใน SVB

Bill Ackman เป็นอีกหนึ่งมหาเศรษฐีและผู้จัดการกองทุนบริหารความเสี่ยง หรือ เฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) ที่ออกมาสนับสนุนให้เพิ่มวงเงินประกันเป็นเต็มจำนวน แทนที่จะประกันแค่ 250,000 ดอลล่าห์ เนื่องจากข่าวในโซเชียลมีเดียที่สร้างความตื่นตัวได้อย่างรวดเร็วประกอบกับดิจิตอลแบงค์กิ้งที่ทำให้การถอนเงินง่ายขึ้น ทำให้ไม่มีธนาคารไหนจะรอดจาก Bank Run ได้เว้นแต่จะมีการประกันเงินเต็มจำนวน

บทเรียนจากประวัติศาตร์สู่การกำเนิดของตัวเลือกใหม่

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผู้ให้บริการทางการเงินอย่างธนาคารต่างๆ เกิดปัญหา ในอดีตที่ผ่านมาช่วงที่มีวิกฤติเศรษฐกิจก็เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว เช่น วิกฤติปี 1980-1994 และซับไพรม์ปี 2007-2008 ทำให้เห็นได้ว่าระบบธนาคารมีปัญหามาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เงิน การขึ้นดอกเบี้ย และการบริหารงานผิดพลาดของธนาคารจนทำให้เกิดการล้มเป็นโดมิโน่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสร้างหนี้สินในระยะยาวอีกด้วย ถึงแม้ว่าบางคนจะมองการล้มของ SVB ว่าเป็นวิกฤติที่ต่างจากปี 2008 และยังสามารถจัดการได้ ไม่กลับไปร้ายแรงเหมือนในอดีต แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัจจัยหหลายอย่างในปัจจุบันนั้นแตกต่างจากเดิม ทำให้ตลาดการเงินยากที่จะคาดเดาว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป

การล้มของธนาคาร SVB และ Signature เปรียบเทียบกับวิกฤติปี 2008 โดยมีจำนวนความเสียหายใกล้เคียงกันและมีเส้นสีส้มแทนจำนวนธนาคาร (ข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม 2023 จาก Statista)

วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกรณีที่มีการแทรกแทรงจากรัฐบาลผ่านการเข้าอุ้มธนาคารถือเป็นเหตุผลในการถือกำเนิดของบิทคอยน์เลยก็ว่าได้ เพราะซาโตชิได้ทำการฝังข้อความลงในบล็อคแรกของบิทคอย์ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ธนาคารได้รับการอุ้มจากรัฐบาลในปี 2009 นับตั้งแต่ปีนั้นทางเลือกใหม่ก็ได้กำเนิดขึ้นและยังอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ โดยสิ่งที่ทำให้บิทคอยน์เป็นทางเลือกใหม่ก็เพราะคุณสมบัติของการเป็นเงินที่ดีและไม่มี counter-party risk ถึงแม้ในช่วงแรกๆ อาจจะมีการติดขัดบ้างในเรื่องของการพัฒนา แต่ก็อยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้และเริ่มขยับขยายตัวจากการเป็นแหล่งเก็บเงินที่ดี (Store Of Value) ไปสู่ตัวกลางการแลกเปลี่ยน (Medium Of Exchange) 

หน้าหนังสือพิมพ์ The Times พาดหัวเกี่ยวกับการอุ้มธนาคารในปี 2009

พูดง่ายๆ ก็คือผู้คนในวงการบิทคอยน์มองว่ามีความเป็นไปได้ที่บิทคอยน์จะมาแทนเงินเฟียตหรือเงินดอลล่าห์ ที่สามารถผลิตเพิ่มได้ไม่จำกัดผ่านการตัดสินใจของกลุ่มคนหรือรัฐบาลของประเทศเดียว ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อที่กระทบต่อการใช้ชีวิตและเศรษฐกิจของคนทั้งโลก และจบด้วยการสกัดลดดอกเบี้ยพร้อมนโยบายต่างๆ จนเป็นผลลัพธ์ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันกับการล้มและเข้าอุ้มธนาคาร ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้บิทคอยน์ให้ผลตอบแทนดีที่สุดเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ จากรายงานของ Goldman Sachs ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2023 

(ทั้งนี้บิทคอยน์ยังมีความเสี่ยงอื่นที่ต้องระวังและมีความผันผวนที่สูง รวมไปถึงราคาที่เพิ่มขึ้นหลังจากวิกฤติธนาคารต่างๆ นั้นมีความเป็นไปได้ที่จะเป็น Speculative Demand เนื่องจากราคาของคริปโตยกขึ้นทั้งตลาดแทนที่จะเป็นบิทคอยน์ตัวเดียวและคริปโตยังจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอยู่)

Source: Goldman Sachs

อ้างอิง

FORTUNE

Axios

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

“ตั้งคำถามให้เป็น” ทักษะที่ Sam Altman ชี้ว่าสำคัญที่สุดในยุค AI

Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ชี้ว่าทักษะสำคัญในยุค AI ไม่ใช่แค่ 'รู้เยอะ' แต่ต้อง 'รู้จักตั้งคำถาม' เพราะการตั้งคำถามที่ดี จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูล เชื่อมโยงความคิดและสร้างนวัตกร...

Responsive image

บทเรียนสำคัญ จากการปลดพนักงานครั้งใหญ่ของ Meta องค์กรควรเรียนรู้อะไร?

เมื่อต้นปี 2024 มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ประกาศเตือนพนักงานว่า ปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทาย พร้อมย้ำว่าบริษัทจะเข้มงวดกับการประเมินผลงานมากขึ้น โดยเฉพาะกับพนักงานที่ทำผลงานไม่...

Responsive image

เช็กวัฒนธรรมองค์กรให้ชัวร์ก่อนรับงาน! เคล็ดลับสัมภาษณ์จาก Adam Grant

เวลาสัมภาษณ์งานหลายคนมักถามว่า 'วัฒนธรรมองค์กรของที่นี่เป็นยังไง' แต่คำตอบที่ได้มักจะฟังดูดีเกินจริง เช่น 'เราทำงานเป็นทีม เหมือนครอบครัวและคอยช่วยเหลือกัน' ซึ่งคำตอบเหล่านี้ไม่ได้...