TDRI เปรียบกฎหมายประเทศแนะเพิ่มประสิทธิภาพ RIA – Regulatory Guillotine ลดภาระต้นทุนรัฐและประชาชน | Techsauce

TDRI เปรียบกฎหมายประเทศแนะเพิ่มประสิทธิภาพ RIA – Regulatory Guillotine ลดภาระต้นทุนรัฐและประชาชน

งานสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอ ประจำปี 2563 “แฮกระบบราชการ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ: จากบทเรียนการรับมือวิกฤติโควิด-19 สู่ความพร้อมรับมือความท้าทายในโลกใหม่ การเสนอนำเสนอหัวข้อ “กฎหมายในฐานะชุดคำสั่งประเทศ”นักวิชาการทีดีอาร์ไอมุ่งชี้ให้เห็นปัญหาของการที่ประเทศไทยมีกฎระเบียบและใบอนุญาตจำนวนมากซึ่งรวมถึงกระบวนการทางราชการ ที่ล้าสมัย ซ้ำซ้อน ซึ่งกลายเป็นกรอบให้ทั้งผู้บังคับใช้กฎหมายและประชาชนต้องปฏิบัติตาม ไม่ต่างจากชุดคำสั่งของประเทศก่อภาระต้นทุนที่ไม่จำเป็นและจำนวนมากแก่รัฐและประชาชน ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ

ดร. สลิลธร ทองมีนสุข นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวเปรียบกฎหมายเป็นชุดคำสั่งของประเทศ ซึ่งหากกฎหมายถูกออกแบบอย่างเหมาะสม ได้สัดส่วนกับประโยชน์ในการแก้ปัญหาก็จะทำให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กลับกันหากกฎหมายที่ออกมาแล้วบางฉบับไม่ได้ผลลัพธ์ตามต้องการหรือมาตรการตามกฎหมายกระทบสิทธิของประชาชน ก็มีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายเพื่อแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายที่ไม่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้กฎหมายต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีกฎหมายประมาณ 7 หมื่นฉบับ  ทำให้ประชาชนสามารถเข้าใจได้ยากว่าปัจจุบันมีกฎหมายใดที่ถูกใช้บังคับอยู่ และปัจจุบันมีใบอนุญาตจำนวนมากเกือบ 1,700 ชนิด มีกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกว่าประมาณ 10,500 กระบวนงาน และคณะกรรมการตามกฎหมายจำนวน 345 คณะ ปัญหาที่แท้จริงแล้วมีมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมแตกต่างกันไม่ใช่ว่าควรตั้งคณะกรรมการหรือออกใบอนุญาตในทุกกรณี 

นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายบางฉบับที่บัญญัติไว้สามารถตีความได้กว้างขวางทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการบังคับใช้กฎหมายทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชน บทลงโทษไม่ได้สัดส่วนกับฐานความผิด บทบัญญัติไม่เป็นไปตามบริบทของสังคมในปัจจุบันหรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอีกต่อไปแล้ว หรือเป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะผูกขาดขัดต่อเสรีภาพในการประกอบกิจการและหลักการแข่งขันโดยเสรีที่รองรับไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 40 และมาตรา 75 ส่งผลให้เกิดภาระตกกับประชาชนโดยไม่จำเป็น จึงควรมีการพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนรอบคอบว่าการออกกฎหมายสามารถแก้ปัญหาได้จริง มีประสิทธิภาพและกระทบกับเสรีภาพประชาชนน้อยที่สุด

เพื่อแก้ไขข้างต้น ดร.กิรติพงศ์ แนวมาลี นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เสนอให้ประเทศไทย จำเป็นต้องมีการประเมินความจำเป็น วิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายต่อรัฐ ประชาชน และภาคธุรกิจ โดยอาศัยการจัดทำ Regulatory Impact Assessment (RIA) หรือ การประเมินผลกระทบของกฎหมายก่อนออกกฎหมาย และ Regulatory Guillotine (RG) อันเป็นการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายภายหลังการบังคับใช้ โดยคำนึงถึงรับฟัง

ความคิดเห็นของทุกภาคส่วนและต้องยกเลิกกฎหมายหากก่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนเกินควรหรือไม่เป็นไปตามพลวัตรของสังคมอีกต่อไป แนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นแนวทางที่กลุ่มประเทศ OECD ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ที่ผ่านมา ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 77 ได้รับรองให้มีการทำทั้ง RIA และ Regulatory Guillotine แต่การจัดทำ RIA และการทำ Regulatory Guillotine ยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้หน่วยงานรัฐยังมีการออกกฎหมายที่ไม่จำเป็นอีกเป็นจำนวนมาก สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดบุคลาการที่มีความรู้ความเข้าใจ ขาดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอย่างรอบด้าน ขาดแนวทางที่ชัดเจนในการประเมินผลกระทบกฎหมายเชิงลึก รวมถึงหน่วยงานกลางที่ช่วยตรวจสอบการจัดทำการประเมินยังขาดขีดความสามารถในการช่วยตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“จากการศึกษาของทีดีอาร์ไอ พบว่า กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการขออนุญาตมีจำนวน 1 พันกระบวนงานนั้น สร้างต้นทุนประชาชนประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี หากมีการตัดโละกฎหมายที่ไม่จำเป็น ภาคเอกชนจะสามารถประหยัดต้นทุนลงได้ราว 1.3 แสนล้านต่อปี หรือเทียบเท่าร้อยละ 0.8 ของ GDP ปี 2561”  

ที่ผ่านมารัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะผลักดันการทบทวนกฎหมายแต่ยังติดข้อจำกัดหลายด้าน จึงขอเสนอให้มีการดำเนินการแก้ไข ดังนี้ 1) ควรเร่งพัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำ RIA และ Regulatory Guillotine 2) ควรมีกรอบแนวทางจัดทำ RIA และ Regulatory Guillotine ที่ชัดเจนมากขึ้น  เพื่อเป็นเครื่องมือที่ดีช่วยการทำงานของเจ้าหน้าที่ 3) จัดตั้งหน่วยงานกลางที่มีความสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานการทำรายงาน RIA และ Regulatory Guillotine เพื่อการประเมินสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น 4) พัฒนาระบบข้อมูลกลางเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน และ 5) รัฐพึงตระหนักเสมอว่า กฎหมายไม่ใช่ทางเลือก หรือทางออกเดียวในการแก้ปัญหาประเทศ ควรพิจารณาใช้ทางเลือกอื่นแทนการออกกฎหมาย เพื่อเลี่ยงการแทรกแซงกลไกตลาด เปิดการแข่งขันเอกชน และป้องกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน 

หากรัฐไทยมีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการทำ RIA และ  Regulatory Guillotine กฎหมายในฐานะชุดคำสั่งก็จะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง

บทความโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

“อยากได้อะไร ก็แค่พูดตรงๆ” เคล็ดลับความสำเร็จจาก Sam Altman

Sam Altman CEO ของ OpenAI บริษัทผู้สร้าง ChatGPT แนะนำ วิธีช่วยให้คุณได้ในสิ่งต้องการ และทำได้ง่ายๆ...

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...

Responsive image

ทำไมความสำเร็จของ Bruno Mars มาจากความซื่อสัตย์ ไม่ใช่ทักษะทางดนตรี?

หลายคนคงรู้จัก Bruno Mars นักร้องชื่อดังที่มีเพลงฮิตติดหูมากมาย แต่ความสำเร็จในวันนี้ นอกจากความสามารถทางดนตรีแล้ว เจ้าตัวเผยว่า ‘ความซื่อสัตย์’ ต่อสิ่งที่ทำ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญท...