Data Driven Marketing จะอยู่อย่างไรในยุค PDPA รุ่งเรือง | Techsauce

Data Driven Marketing จะอยู่อย่างไรในยุค PDPA รุ่งเรือง

ในวันที่แบรนด์ต่างแข่งกันสะสม Data ให้ BIG เพื่อรอวันได้ออกดอกออกผลจากการประมวลผลและทำ AI, Machine learning, Automation, Personalization กันเจ๋งๆ ซักที ดันมีกฎหมายใหม่ออกมาสั่งห้าม  เหมือนสะสมแต้มชานมไข่มุกจนครบจำนวนกำลังจะเดินไปแลกของ....เอ๊า.....ร้านปิดซะงั้น ! 

จริงๆแล้วไม่ได้แย่ขนาดนั้นค่ะ เรามาดูกันว่าทำไม 

ข้อดี PDPA กับนักการตลาด

  • หากบริษัทของคุณลงทุนด้าน  Data Security ไว้เยอะ ถึงเวลาเอามา PR ซะให้คุ้ม ! 
  • ระยะยาวพรบ.นี้จะทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในระบบการเก็บข้อมูล และการเอาข้อมูลไปใช้อย่างถูกต้อง นักการตลาดก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริง ใช้ได้จริงมากขึ้นเอาไปประมวลผลใช้งานเป็น predictive model หรือ Automation ที่แม่นยำสุดอะไรสุด

ข้อเสีย PDPA กับนักการตลาด

  • ในระยะสั้น เราต้องรื้องานค่อนข้างเยอะ เช่น เวบ แอพ ใบสมัคร ระบบสมาชิก ระบบการติดต่อกับลูกค้า 
  • และหากเราทำได้ไม่ดีพอ โดนฟ้องเป็นคดีเจิม PDPA แบรนด์เราจะดังมากกก แต่ก็ทำลายความน่าเชื่อถือได้มากกกก จนไม่คุ้มเสี่ยงหรอกค่ะ

ความเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่อาจกำลังมาทางนักการตลาด

  1. บทบาทใหม่

ตามที่เราได้เข้าใจพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 กำลังจะมีผลบังคับใช้ 27 พ.ค.นี้แล้ว ( อ่านใจความพรบ. ได้ที่นี่ link ) กำหนดว่าจะต้องมีบทบาทใหม่อีก 2 ตำแหน่ง

  • ผู้ควบคุมข้อมูล : บุคคล/นิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูล
  • ผู้ประมวลผล : มีบทบาท บุคคล/นิติบุคลซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลตามคำสั่ง หรือ ในนามของผู้ควบคุม (  ต้องเป็นคนละคนกับผู้ควบคุม )

เราคิดว่านักการตลาดที่องค์กรมีข้อมูลค่อนข้างเยอะและมีการทำการตลาดแบบใช้ Data เยอะๆ ผู้บริหารสูงสุดของฝ่ายการตลาดอย่าง CMO, Marketing Director หรือ Manager ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูล อาจต้องรับตำแหน่งใหม่นี้ไปโดยปริยาย  ส่วน Vendor Data Consultant อย่างเรา Analytist ก็จะเข้าข่ายเป็นผู้ประมวลผลค่ะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของธุรกิจและการตัดสินใจของแต่ละองค์กรด้วยค่ะ 

2. รูปแบบการบริหารข้อมูล และบริการใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น

ทั้ง eco system ของข้อมูลจะต้องมีการปรับอีกหลายอย่างเพื่อรองรับสิทธิใหม่ๆที่เจ้าของข้อมูลพึงได้รับ 

คีย์คือ ต้องมีหลักฐานของ Consent เก็บไว้

การขอความยินยอม (Consent) นั้น จะต้องให้เจ้าของข้อมูลสามารถ

  • ทำผ่านกระดาษ หรือ ระบบออนไลน์ก็ได้ 
  • ใช้ภาษาที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย 
  • ไม่หลอกลวงให้เข้าใจผิด 
  • การทำ Opt Out จะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป 
  • ควรมีทางเลือกไว้ 2 ทาง คือ ยินยอม และไม่ยินยอม
  • แยกชัดเจนจากเงื่อนไขอื่นๆ และไม่เอาเงื่อนไขอื่นมาผูกพัน

ที่เราชอบเอามาพับๆใส่ไว้ให้ User อ่านจบเร็วๆ หรือกดอ่านหรือไม่อ่านก็ได้นี่คือ ผิดนะคะ ที่ถูกจะต้องคลี่ ต้องแผ่ ยาวๆไปเลย และแยกหัวข้อออกจากหัวข้ออื่นๆ

การถอนความยินยอม (Consent) นั้น จะต้องให้เจ้าของข้อมูลสามารถ

  • ทำเมื่อไหร่ก็ได้  ระบุไว้กว้างอีกเช่นกัน  คงต้องรอกฎหมายลูกมาแจ้ง เช่นว่า จะต้อง 24 ชม.หรือไม่ แต่เราก็แนะนำให้เตรียมแบบที่ประหยัดกำลังคนที่สุด เช่น เวบ, แอพ, Call center)
  • แต่พรบ.ระบุว่าจะต้องทำได้ง่ายเช่นเดียวกับการให้ความยินยอม ( ข้อนี้กว้างหนักเลย และคงทำได้ยากอยู่ เพราะต้องยืนยันตัวตนด้วย) 

เรามีตัวอย่างของ SCB ที่ทำไว้ค่อนข้างดี มาให้ดูกันค่ะ

เข้าแอพไปตรงเมนูอื่นๆ ด้านขวาล่างสุด มีเมนู “จัดการข้อมูลส่วนตัว”

มีการแจ้งสิทธิและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่มีการพับเก็บไว้ 

คำถามที่ว่า การประมวลผลโดยไม่มีข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้อยู่ด้วย สามารถทำได้หรือไม่นั้น ยังไม่แน่ชัด 

ในรายละเอียดเหล่านี้ยังต้องอาศัยการตีความโดยนักกฎหมาย และหากจะทำต้องพร้อมรับความเสี่ยงด้วย จนกว่าจะมีแนวทางจาก PDPA Thailand หรือ กฎหมายลูกจะมาบ่งชี้ชัด 


ผู้เขียน : Analytist Team

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...