หากใครเคยได้ยิน Case Study ของบริษัทการเงินใหญ่สุดของจีนอย่าง Ping An ที่สามารถ Transform สู่ Tech Company และลดความเสี่ยงจากการถูก Disrupt ได้ ในประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB อาจเป็นหนึ่งใน Case Study ใหม่ในอนาคต ด้วยยานแม่ที่ชื่อ SCBX
จากจดหมายของ CEO โดยคุณอาทิตย์ นันทวิยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ตอนหนึ่งระบุว่า
“แนวโน้มของการถูก disrupt นั้น เริ่มมาเมื่อหกปีก่อนและจะชัดเจนมากขึ้นในอีกสาม ปีข้างหน้า”
นั่นหมายถึง การเห็นคลื่นความเปลี่ยนแปลงของโลกการเงิน ไมว่าจะเป็นการที่ผู้เล่นขนาดใหญ่หลายราย มาบุกสู่โลกการเงิน หรือการมาของ Decentralized Finance Technology ที่ทำให้ธนาคารถูกลดบทบาทลง
SCB เป็นหนึ่งในธนาคารที่ตื่นตัวกับคลื่น Disruption นี้มาโดยตลอด โดยก่อนหน้านี้ SCB ได้ตั้ง SCB 10X ให้บริษัทโฮลดิ้งคอมพานีในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ โดยเป็นบริษัทรายแรกในไทย ที่มุ่งเน้นเรื่องของ Decentralized Finance แต่ด้วยกลไกบางอย่าง อาจทำให้ SCB ยังขาดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ และการบุกสู่น่านน้ำใหม่ๆ
SCBX จึงเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ที่ถูกเรียกว่า 'ยานแม่' ซึ่งจะพาธุรกิจของ SCB ปลดล็อกสู่โลกใบใหม่ได้อย่างแท้จริง เริ่มด้วยวิธีการสร้างยานแม่คือ
ตั้งบริษัท SCBX
ถอด SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ และ Share Swaps ให้ผู้ถือหุ้นเดิม มาถือหุ้นในบริษัท SCBX แทน โดยSCBX จะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แทน
จ่ายเงินปันผล 7 หมื่นล้านบาทให้กับ SCBX
เมื่อการโยกย้าย Asset และจัดตั้งบริษัทใหม่เข้าสู่ตลาดเรียบร้อยแล้ว จากเดิมที่บริษัทในเครืออยู่ภายใต้ SCB Bank ก็จะถูกแยกออกมาเป็น
ธุรกิจธนาคารแบบเดิมๆ (Cash Cow) : SCB Bank
ธุรกิจใหม่ (New Growth) คือ
Digital Platforms : Token X , monix , Robinhood
External Fund Raisings : SCB ABACUS
VC Investment SCB 10X
Tech Dev & Global Partner : Digital Ventures , SCB TechX
นอกจากนี้ยังมีบริษัทใหม่ได้แก่
การตั้งบริษัทใหม่ หรือ spin-off บริษัทย่อยออกมาจากธุรกิจธนาคารเดิม ยังส่งเสริมให้ SCBx คล่องตัวขึ้นกว่าเก่า ด้วยการทำงานที่จะไม่ยึดติดกรอบแบบ Traditional Bank และการคิดใหม่ ทำใหม่ นำทัพบริหารของคนรุ่นใหม่ ยกตัวอย่าง SCBAIS มีประธานบริหารเป็นคุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร หรือ การตั้ง Venture Capital ร่วมกับ CP Group ที่มีผู้บริหารหลักคือ ดร. อารักษ์ สุธีวงศ์ เป็นต้น
นอกจากการหาน่านน้ำใหม่ๆ หรือการก้าวเข้าสู่โลก Decentralized Finance จะสังเกตเห็นว่าธุรกิจต่อจากนี้ คือเรื่องของสินเชื่อ และข้อมูล ดังนั้นการที่ SCB มีแพลตฟอร์มอย่าง Robinhood หรือการจับมือกับ AIS , CP Group จะทำให้ SCB ขับเคลื่อน Data มหาศาล ช่วยปลดล็อกข้อจำกัดทางการเงินให้กับกลุ่ม Micro ดังเช่นที่ Tech Company รายใหญ่ๆ กำลังเดินหน้าอยู่
ด้วยโครงสร้างใหม่นี้ นอกจากธุรกิจธนาคาร SCBX ตั้งเป้าเดินหน้าเป็น Tech Company ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจสู่น่านน้ำใหม่ๆ ในภูมิภาค Southeast Asia โดยตั้งเป้า 5 ปีจากนี้คือ
เรียกได้ว่าต่อจากนี้ SCB จึงจะต้องไม่จำกัดตัวเองอยู่ที่ธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป หากแต่ต้องใช้ ความเข้มแข็งทางการเงินของธุรกิจธนาคารปัจจุบันให้เป็นประโยชน์ เพิ่มขีดความสามารถ ให้กับ SCB เร่งขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นที่ตลาดต้องการและสร้างขีดความสามารถทางด้าน technology ร่วมถึงการบริหารจัดการ แพลตฟอร์มทางเทคโนโลยี (technology platform) ขนาดใหญ่ให้ทัดเทียมกับคู่แข่งระดับโลก เข้าสู่สนามการแข่งขัน แบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อที่จะอยู่รอดปลอดภัยในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้
อ่านเพิ่มเติม
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด