Tech Company ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย แตกบริการอะไรออกมาท้าชนกันบ้าง ? | Techsauce

Tech Company ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย แตกบริการอะไรออกมาท้าชนกันบ้าง ?

ที่ผ่านจะเห็นได้ว่าเหล่า Tech Company ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ได้เปิดตัวบริการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีตั้งแต่สื่อสาร ท่องเที่ยว ขนส่ง e-commerce โดยธุรกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นจากต่างประเทศที่ได้เข้ามาให้บริการในประเทศไทย ซึ่งภายในหนึ่งแพลตฟอร์มนั้นจะครอบคลุมบริการหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เรียกรถ ส่งอาหาร ซื้อของ การเงิน (ทั้งในรูปแบบ Digital Wallet และบริการทางการเงินอื่น ๆ) จองที่ััพัก จองตั๋วทริป ขนส่งด่วน ตลอดจนบริการ messenger ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปดูกันว่า แพลตฟอร์มไหนเริ่มต้นจากธุรกิจอะไร และปัจจุบันได้แตกบริการอะไรออกมาท้าชนคู่แข่งกันบ้าง

Tech Company

Grab

Grab ซึ่งเป็น Super App ระดับยูนิคอร์นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ขยายธุรกิจเข้ามาให้บริการในประเทศไทย เมื่อปี 2013 เริ่มต้นด้วยการเข้ามาเป็นแอปเรียกรถแท็กซี่ (Grab Taxi) โดยให้บริการอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ขยายไปตามหัวเมืองต่างจังหวัด เกือบทั่วทั้งประเทศ  

สำหรับ Grab ได้ขยายบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมการใช้ชีวิตแทบทุกด้าน ซึ่งไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องเข้าแอป Grab ซึ่งจะมีบริการจบในที่เดียว  

ในปัจจุบัน Grab มีบริการครอบคลุมหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น  เรียกรถ Grab Taxi  Grab Car  Grab Bike และ Just Grab  บริการสั่งอาหาร GrabFood บริการซื้อของ Grab Fresh  Grab Mart บริการการเงิน GrabPay Grab Finance  บริการจองทริป และที่พัก โดยสามารถจองผ่าน Grab ได้ด้วยความร่วมมือกับแพลตฟอร์มพาร์ทเนอร์ อย่าง Agoda Booking และ Klook และมีบริการ messenger  กับ Grab Express

นอกจากนี้ Grab ยังให้บริการครอบคลุม GrabRent บริการให้เช่ารถยนต์พร้อมคนขับ GrabVan บริการเช่ารถตู้ GrabRotdaeng บริการเช่ารถสองแถว (มีบริการเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่เท่านั้น) และ GrabDriveYourCar บริการคนขับรถมืออาชีพอีกด้วย

ติดตามข่าวสารและเรื่องราวของ Grab ได้ที่นี่

AirAsia (GoJek)

AirAsia เดิมเราจะคุ้นชื่อกันในธุรกิจสายการบิน แต่จริง ๆ แล้ว AirAsia ได้มีการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่การเป็น tech company ที่ให้บริการในหลากหลายด้านด้วยกัน โดยเมื่อไม่นานมานี้ AirAsia Super App ได้เข้าซื้อกิจการ GoJek ประเทศไทย ซึ่งจะรวบบริการทั้งหมดของ GoJek เข้ามาไว้ในแอปของ AirAsia เอง

สำหรับ Gojek เป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นสัญชาติอินโดนีเซีย ที่เข้ามาให้บริการในประเทศไทยเมื่อปี ตั้งแต่ปี 2018 ภายใต้แบรนด์ GETต่อมาในปี 2020 ก็ได้รีแบรนด์เป็น GoJek โดยในประเทศไทยนั้นสำหรับ Gojek จะให้บริการในส่วนของ GoRide บริการเรียกรถจักรยานยนต์, GoFood บริการส่งอาหาร, GoSend บริการรับ-ส่งพัสดุ และ GoPay บริการ e-Wallet

หลังจากที่ได้ควบรวมกับ GoJek แล้ว ภายในแพลตฟอร์มของ AirAsia Super App ก็ได้ให้บริการครอบคลุมเกือบทุกด้านเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เรียกรถ AirAsia Ride (GoRide)  บริการสั่งอาหาร AirAsia Food (GoFood) บริการซื้อของ AirAsia Grocer (GoMart)  บริการการเงิน BigPay (GoPay)  บริการจองทริป และที่พัก AirAsia Hotel AirAsia SNAP ซึ่งเป็นบริการในแอปดั้งเดิมของ AirAsia อยู่ก่อนหน้าแล้ว บริการขนส่งด่วน อย่าง Teleport  และมีบริการ messenger  อย่าง AirAsia Xpress (GoSend)

ติดตามข่าวสารและเรื่องราวของ AirAsia ได้ที่นี่

LINE

LINE ที่เรารู้จักกันดีในฐานะแอปแชท ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตคนไทย เมื่อปี 2014  และในปี 2019 ได้ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่สู่การเป็น Super App อย่างเต็มตัว และได้มีการจัดตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ขึ้นอย่าง LINE MAN ซึ่งปัจจุบัน LINE MAN ได้ spin off ออกมาเป็น LINE MAN Wongnai เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยให้บริการหลากหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น  เรียกรถ  LINE MAN Taxi บริการสั่งอาหาร  LINE MAN Food Delivery  บริการซื้อของ LINE MAN Mart บริการการเงิน ซึ่งจะเป็นของ LINE ผ่านบริการ RabbitLinePay LineBK  บริการขนส่งด่วน อย่าง  LINE MAN Parcel และมีบริการ messenger  อย่าง LINE MAN Messenger

ติดตามข่าวสารและเรื่องราวของ LINE ได้ที่นี่

Shopee

Shopee (บริษัทลูกของ Sea Group) เป็นแพลตฟอร์ม E-commerce ให้บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีคู่แข่งหลายรายในภูมิภาค เช่น Lazada, Tokopedia และ AliExpress 

โดยในประเทศไทย เป็นที่ทราบกันดีกว่า Shopee เข้ามาในฐานะแพลตฟอร์มที่ให้เข้ามาซื้อของ และขายของออนไลน์ นอกจากจะให้ผู้คนเข้าไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังมีร้านของแพลตฟอร์มเองอย่าง  Shopee Mall และ Shopee Mart ด้วย และมีบริการ e-wallet ผ่าน Airpay ซึ่งภายหลังได้มีการรีแบรนด์มาเป็น ShopeePay  ต่อมาได้แตกบริการทางการเงินอย่าง SPayLater และ SEasyCash

นอกจากนี้ Shopee ยังทำบริการขนส่งภายใต้ชื่อแบรนด์เองอย่าง  Shopee Express ด้วยเช่นกัน และเมื่อไม่นานมานี้ Shopee ได้มีการแตกบริการออกมาสู่ บริการ  Food Delivery ภายใต้ชื่อ Shopee Food อีกด้วย

ติดตามข่าวสารและเรื่องราวของ Shopee ได้ที่นี่

Flash

Flash Group สตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายแรกของไทย ผู้ให้บริการ  E-Commerce ครบวงจร เริ่มต้นธุรกิจด้วยบริการขนส่งด่วน ภายใต้ Flash Express ในปี 2018 โดยให้บริการแบบ Door to Door รับและส่งสินค้าถึงหน้าบ้าน 

ต่อมา Flash ได้ขยายบริการด้านโลจิสติกส์ (Flash Logistics) ที่ให้บริการรับส่งสินค้าขนาดใหญ่ เพิ่มสถานที่ให้บริการด้านคลังสินค้า (Flash Fulfillment) ดูแลจัดเก็บสินค้าให้ปลอดภัย ขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมการเงิน อย่าง Flash Pay ซึ่งเป็นบริการระบบรับชำระเงินออนไลน์ผ่านทางสมาร์ทโฟน และการต่อยอดจะนำไปสู่  Flash Money บริการปล่อยสินเชื่อบุคคลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย พร้อมด้วย FlashCreditPay แบ่งชำระเงินผ่าน COD เมื่อรับพัสดุได้

ติดตามข่าวสารและเรื่องราวของ Flash ได้ที่นี่

Traveloka

Traveloka  Startup สัญชาติอินโดนีเซีย ขยายบริการสู่หลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มต้นจากการเป็นเว็ปไซต์ Search Engine สำหรับใช้เช็คข้อมูล เปรียบเทียบราคาและตารางการบินที่มาจากเว็ปไซต์ต่างๆ ต่อมาได้เพิ่มบริการจองตั๋วเครื่องบิน และบริการจองโรงแรมที่พักเข้าไป และขยายบริการสู่การจอง กิจกรรมไลฟ์สไตล์มากมาย ภายใต้ฟีเจอร์ Xperience

และเมื่อไม่นานมานี้ได้ตัดสินใจขยายธุรกิจสู่บริการทางการเงิน Traveloka Financial Service โดยร่วมทุนกับ SCB10X ด้วยเช่นกัน

ติดตามข่าวสารและเรื่องราวของ Traveloka ได้ที่นี่

สรุป

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าจะการเปรียบเทียบบริการต่าง ๆ ข้างต้นของ tech company ที่แตกบริการออกมาชนกัน ทุกรายต่างขยายเข้าสู่บริการทางการเงินทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ  Digital Wallet  สินเชื่อ  Buy Now Pay Later ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือว่ามีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก ขณะที่บริการที่แข่งขันตามมาติด ๆ คือ บริการส่งอาหาร หรือ Food Delivery ที่นับวันในประเทศไทยก็มีผู้เล่นรายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

ส่วนในด้านของบริษัท จะเห็นได้ว่าจากบริการยอดนิยมที่ทาง Techsauce ได้เลือกหมวดหมู่ออกมานั้น AirAsia ซึ่งถือว่าเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ใน Super App ในประเทศไทย กลับมีบริการที่ครอบคลุมมากที่สุด ตั้งแต่ เรียกรถ ส่งอาหาร ซื้อของ การเงิน จองที่ััพัก จองตั๋วทริปต่าง ๆ ขนส่งด่วน ตลอดจนบริการ messenger ดังนั้นจึงเป็นที่น่าจับตามองมากว่า การเข้ามาตีตลาด และแข่งขันกับผู้เล่นที่แข็งแกร่งในไทย AirAsia จะเดินเกมเพื่อดึงส่วนแบ่งการตลาดในแต่ละสนามอย่างไร 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...

Responsive image

สำรวจ orbix เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียนและจักรวาล Digital Asset ของ Unita Capital

ทำความรู้จักแพลตฟอร์ม orbix กระดานเทรดนี้ต่างจากที่อื่นตรงไหน หัวใจสำคัญของการเปิด ‘เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียน (The Capital of Kryptonian)’ คืออะไร รวมไว้ในบทความนี้แล้ว...