วิเคราะห์ Startup ด้านไหนน่าทำและน่าสนใจในปี 2016 | Techsauce

วิเคราะห์ Startup ด้านไหนน่าทำและน่าสนใจในปี 2016

Screen Shot 2016-01-03 at 2.52.56 AM

เข้าสู่ปี 2016 หรือ พ.ศ. 2559 กันแล้ว เราเชื่อว่าปีนี้ Startup ก็ยังคงความน่าสนใจที่จะเข้ามาทำเพื่อแก้ไขปัญหาและสร้างให้เป็นธุรกิจได้จริงอีก แต่ด้านไหนที่มีความน่าสนใจและน่าทำในปีนี้ เลยมีมุมมองที่อยากจะแชร์เผื่อว่าจะเป็นแนวทางให้คนที่กำลังหาแนวทางในการทำครับ

ออกตัวอีกครั้งว่า นี่เป็นความเห็นส่วนตัวในการมองทิศทางของสิ่งที่น่าจะทำในปีนี้จากสิ่งที่พอจะรับรู้และปัญหาที่เกิดขึ้น และน่าจะมีบางอย่างที่เข้ามาช่วยให้ปัญหานี้หมดไปได้

Agri Tech

ขอหยิบขึ้นมาเป็นอย่างแรกที่พูดถึง เพราะเรายังคงอยู่ใกล้ชิดกับการเป็นเกษตรกรรมอยู่ (แม้จะอยู่ในเมืองก็ตาม) น่าสนใจว่าเรื่องการทำเกษตรกรรมยังไม่ค่อยถูกหยิบเอามาเลือกทำใน Startup เท่าไหร่นัก ทั้งๆ ที่การนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยทำให้ชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นและก็น่าจะทำให้คนเข้ามาให้ความสนใจทางด้านเกษตรเพิ่มมากขึ้น

และด้วยกระแสโลกเรื่องการ Go Green หรือรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้แต่การที่คนหันมาสนใจเรื่อง Organic อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Agri Tech ดูน่าสนใจและน่าทำในช่วงนี้

Ed Tech

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตคงไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไปในการขัดขวางการเรียนรู้ แต่สิ่งที่จะช่วยให้การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นยังมีอยู่ไม่มากนัก

การพัฒนาบางสิ่งที่จะช่วยในเรื่องการศึกษา หรือการทำให้เสริมความรู้กับคนเป็นสิ่งที่น่าทำและคิดว่ายังมีช่องทางในการทำอีกมากพอสมควร ซึ่งผมมองไม่ใช่แค่แอป แต่สามารถทำให้ได้ถึงแพล็ตฟอร์มของการเรียนรู้ได้เลย แต่ถ้าถามว่ามีคนทำอยู่แล้วหรือเปล่า ก็มีแล้ว แต่อย่างว่า ตลาดด้านการศึกษายังมีช่องว่างให้ทำอยู่อีกเยอะ มันคงไม่ได้หยุดแค่การเรียนออนไลน์เท่านั้น แต่การทำเครื่องมือเพื่อเอามาช่วยทางฝั่งของครูได้

เรื่อง Ed Tech ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำออกมาแล้วให้ใช่กับผู้ใช้งานมากกว่า

Med Tech

กระแสการรักสุขภาพของ ทำให้ Health Tech ดูน่าสนใจขึ้นมากในช่วงปีที่ผ่านมา แต่มาปีนี้ดูแล้วน่าจะมีอะไรที่เจาะจงไปมากกว่านี้เพราะนอกจากเรารักตัวเองแล้ว เรายังต้องรักคนรอบข้างด้วย

หาหมอดอทคอม น่าจะเป็นชื่อหนึ่งที่เป็นตัวอย่างได้ดีสำหรับการทำ Startup ด้านนี้ แต่นั่นก็คือการให้บริการด้านข้อมูล สิ่งที่น่าจะทำและน่าจะมีก็คือการมีบางสิ่งที่เป็นบริการเฉพาะทางมากขึ้น เพราะโดยส่วนตัวคิดว่ายังมีความต้องการและยังคงมีปัญหาที่เกิดขึ้นด้านนี้อยู่มาก ทั้งทางตัวแพทย์, พยาบาลเอง หรือเป็นทางด้านคนไข้ เทคโนโลยีน่าจะมีอะไรที่เข้ามาช่วยได้อีกเยอะทั้งสองทาง โดยเฉพาะในเรื่องการให้บริการ Med Tech น่าจะเข้ามาช่วยให้คนทั่วไปทำอะไรได้มากกว่าการอ่านและช่วยให้คนทั่วไปสามารถติดต่อหรือสามารถส่งบางอย่างให้กับแพทย์เพื่อการวินิจฉัยได้เร็วและดีมากกว่าเดิม

ถ้าให้นึกง่ายๆ อาจจะเป็น Claim di ที่เน้นด้าน Medical ก็เป็นได้

Fin Tech

แม้จะได้รับการปูทางเป็นเทรนด์ในปี 2015 มาแล้ว (อารมณ์ประมาณว่าหันไปทางไหนก็เจอแต่คำว่า Fin Tech ไม่เว้นแม้การสัมมนา) สาเหตุก็เพราะการธุรกรรมทางการเงินเป็นสิ่งที่เราต้องทำ รวมทั้งเป็น Startup ที่น่าจะมีแนวโน้มในการสร้างรายได้ให้กับบริษัทมากที่สุด ไม่ว่าจะช่องทางไหนก็ตามที่เกิดขึ้นด้านการเงิน 2015 จึงเป็นแรงดึงดูดให้คนหันมาสนใจกันอย่างมาก

แต่เอาเข้าจริงแล้ว Startup ที่เกิดขึ้นมาในด้าน Fin Tech ก็ยังมีอยู่ไม่ค่อยหลากหลายนัก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะปัญหาคอขวดของการขออนุญาตกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย หากปลดลอคตรงนี้ได้เชื่ออย่างมากว่า Fin Tech จะไปได้ไกลกว่านี้ แต่ตัว Fin Tech เองก็ยังคงมีมุมที่หลากหลายให้เล่นตามปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ เช่น กองทุน, สินเชื่อ สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้เห็นและมีมุมในการทำ Startup เพื่อมาแก้ไขปัญหาเพิ่มมากขึ้น


ทั้ง 4 ด้านก็คือมุมมองจากผู้เขียนที่คิดว่าน่าจะมี Startup เข้ามาทำเพื่อแก้ปัญหา แต่ทั้งหมดทั้งมวล ก็ควรจะต้องมีผู้ที่เชี่ยวชาญร่วมทีมด้วย เพราะมีผลกับการกำหนดทิศทางในการพัฒนาและความน่าเชื่อถือด้วยนะครับ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bill Gates แนะนำ 'The Coming Wave' หนังสือ AI ที่ควรอ่าน ทำนายการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกการทำงาน

Bill Gates ผู้ก่อตั้ง Microsoft แนะนำหนังสือ "The Coming Wave" เขียนโดย Mustafa Suleyman ซีอีโอของ Microsoft AI ซึ่งเขายกให้เป็นหนังสือ AI ที่สำคัญที่สุดและอยากให้ทุกคนอ่าน เพื่อเต...

Responsive image

The Puzzle Principle เคล็ดลับของไอน์สไตน์ที่จะทำให้คุณฉลาดขึ้น

เรียนรู้หลักการ The Puzzle Principle ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแนวคิดจาก Adam Grant ที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจกว้าง และทำให้คุณฉลาดขึ้น พร้อมตัวอย่างงานวิจัยที่ยืนยันผลลัพ...

Responsive image

บริหารแบบ Micromanagement ใส่ใจไม่จู้จี้ บทเรียนพลิกธุรกิจจาก Brian Chesky CEO ของ Airbnb

สำรวจว่าแนวทางการบริหารที่ใส่ใจในรายละเอียดของ Chesky ช่วยเปลี่ยน Airbnb ให้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกได้อย่างไร และเพราะเหตุใดการ micromanagement ...