เปรียบเทียบ 2 แอปจากแบงก์ใหญ่ "K PLUS vs SCB EASY" | Techsauce

เปรียบเทียบ 2 แอปจากแบงก์ใหญ่ "K PLUS vs SCB EASY"

เทียบแอปจากสองแบงก์ใหญ่ ระหว่าง K PLUS จากธนาคารกสิกรไทย กับ SCB EASY จากธนาคารไทยพาณิชย์ แบบหมัดต่อหมัดเพื่อดูว่ามีฟีเจอร์เด่นเหมือนหรือต่างกันมากน้อยแค่ไหน


ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2560 ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เปิดตัวแอปพลิเคชันในชื่อว่า SCB EASY ซึ่งมีการปรับปรุงหน้าตาใหม่ และเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ หลายอันเช่น "Cardless ATM" สามารถกดเงินไม่ใช้บัตรเดบิตหรือเอทีเอ็มได้ เป็นต้นแต่หลังจากนั้นก็มีการปล่อยฟีเจอร์ใหม่ๆ ออกมาในแอปเรื่อยๆ เช่น เปิดตัวฟีเจอร์ 'โปรเพื่อคุณ' ที่ใช้ AI วิเคราะห์ Lifestyle เวลาผ่านพ้นไปร่วมปี เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา ทางธนาคารกสิกรไทย (KBank) ก็ได้เปิดตัวแอปฯ K PLUS โฉมใหม่ ซึ่งมาพร้อมกับไอคอนใหม่ และฟีเจอร์ใหม่ๆ อีกด้วย

แต่ทั้งธนาคารสองค่าย ต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการสร้างแอปของตัวเอง คือการเป็น Lifestyle App/Banking ให้กับผู้บริโภค ดังนั้น Techsauce จึงขอพาไปเทียบฟีเจอร์แบบหมัดต่อหมัดเพื่อดูว่าฟีเจอร์เด่นๆ ค่ายไหนใส่มาแล้วบ้าง

1. ล็อกอินด้วย Touch ID - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - จากการลองเล่นทั้งสองแอป เราพบว่าทั้งสองแอปจากแบงก์ใหญ์มีฟีเจอร์ป้องกันความปลอดภัยที่สะดวกอย่าง Touch ID เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

2. ระบบแจ้งเตือนภายในแอป - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - ทั้งแอป K PLUS และ SCB EASY ต่างมีระบบแจ้งเตือนหรือ Notification ภายในแอปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

3. กดเงินไม่ใช้บัตร - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - ล่าสุด Techsauce ได้ลองใช้ฟีเจอร์กดเงินไม่ใช้บัตร (ดูคลิปได้ที่นี่) เราพบว่าการกดเงินแบบไม่ใช้บัตรผ่านแอป K PLUS มีขั้นตอนยุ่งยากน้อยกว่า SCB EASY

https://www.facebook.com/techsauceTH/videos/1771510122970866/

 

4. เปลี่ยนแปลงวงเงินการโอน - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - SCB EASY มีฟีเจอร์ "เปลี่ยนแปลงวงเงินการโอน" มาก่อนแล้ว ซึ่งปรับวงเงินได้ละเอียดกว่า ส่วน K PLUS มีฟีเจอร์นี้หลังจากเปิดตัวเวอร์ชันใหม่แล้ว แต่ปรับครั้งเดียวมีผลต่อการโอนทุกรูปแบบ

5. ตั้งโอนล่วงหน้า - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - SCB EASY มีฟีเจอร์ "ตั้งโอนล่วงหน้า" มาก่อนแล้ว ส่วน K PLUS มีหลังจากเปิดตัวเวอร์ชันใหม่แล้ว

6. สแกนและรับเงินผ่าน QR Code - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - ทั้งสองแอป มีฟีเจอร์สแกนและรับเงินผ่าน QR Code มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว

7. สมัครบัตรเครดิตและสินเชื่อ - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - ทั้ง KBank และ SCB จะให้เรากดสมัครผ่านแอปก่อน (เหมือนการยื่นสมัครผ่านทางเว็บไซต์) แล้วทางธนาคารจะโทรมายืนยันและขอรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งถือว่าจะสะดวกกว่าเดิมอยู่พอสมควร

8. เปิดบัญชีผ่านแอป - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - ต้องยอมรับว่า SCB เปิดตัวฟีเจอร์ "เปิดบัญชีผ่านแอป" ก่อนในชื่อ EASY E-KYC แต่ใช้ได้บน Android ที่รองรับ NFC เท่านั้น ส่วน K PLUS เปิดให้ใช้ทั้งบน iOS และ Android

9. ซื้อกองทุน - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - ทั้งแอป K PLUS และ SCB EASY เปิดช่องให้ซื้อกองทุนได้แล้ว

10. ซื้อประกันเดินทาง - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - ทั้งแอป K PLUS และ SCB EASY เปิดช่องให้ซื้อประกันเดินทางได้อีกเช่นกัน

11. Marketplace - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - จะเห็นได้ว่าบนแอปของ K PLUS มีทั้งโปรโมชันและการขายสินค้าเต็มรูปแบบ แต่บนแอป SCB EASY มีแค่โปรโมชันเท่านั้น ซึ่งการที่เราใส่ดอกจันสามอัน (***) ไว้ใน Infographic ด้านบนก็เพื่อสื่อว่า Marketplace ของทั้งสองค่ายมีฟีเจอร์ที่ต่างกันพอสมควรครับ

12. ใช้ AI คัดโปรโมชัน - มีฟีเจอร์นี้ทั้งสองค่าย - แอป SCB EASY ได้ให้ SCB ABACUS ใส่ AI ลงในฟีเจอร์ 'โปรเพื่อคุณ' ส่วนแอป K PLUS ก็ได้นำว่าเอา AI อย่าง KADE ใส่เข้าไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

13. เพิ่มบัตรสมาชิก (Loyalty Card) - K PLUS มีฟีเจอร์นี้แต่ SCB ไม่มี - ฟีเจอร์สุดท้ายกลายเป็นว่า K PLUS มีฟีเจอร์นี้ แต่ SCB EASY ยังไม่มีฟีเจอร์นี้


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จากเทคโนโลยี AI สู่ IA เพื่อมนุษย์ ในมุมมองของ “Pattie Maes”

เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาชีวิตได้อย่างไร? มาดูแนวคิดในการออกแบบและทดสอบอุปกรณ์ที่ช่วยให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปกับคุณ Pattie Maes นักวิจ...

Responsive image

สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน

30 ปีไม่มีพลาด สนามบินนานาชาติคันไซของญี่ปุ่นรักษาสถิติ ‘ไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย’ เลยสักครั้ง นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1994 จวบจนปัจจุบัน...

Responsive image

DeFi เกิดมาเพื่อทำลายระบบธนาคารจริงหรือไม่

เก็บตกประเด็นน่าสนใจจากงานเสวนาในหัวข้อ he Rise of Decentralized Finance (DeFi): Disruption or Distraction? จาก Money 20/20 Asia...