Techsauce Startup Year-in Review 2021 เผยภาพรวมสถานการณ์ Startup ไทยรายอุตสาหกรรม (Part 2) | Techsauce

Techsauce Startup Year-in Review 2021 เผยภาพรวมสถานการณ์ Startup ไทยรายอุตสาหกรรม (Part 2)

ถือเป็นธรรมเนียมไปแล้ว สำหรับ Techsauce ในฐานะสื่อที่มีส่วนร่วมในการสร้าง Tech Startup Ecosystem ที่จะจัดทำเนื้อหาพิเศษประจำปีเพื่อสรุปภาพรวมสถานการณ์ของ Tech Startup Ecosystem ในประเทศไทย โดยในปี 2021 ซึ่งถือเป็นปีที่มีกิจกรรมที่มีนัยสำคัญมากมายก็เป็นปีที่ Techsauce ยังคงรวบรวมเนื้อหานำเสนอเป็นบทความ Year-in Review ให้ทุกท่านได้ติดตามกันในโอกาสนี้

ทั้งนี้ขอขอบคุณ Contributors ทุกท่านที่สละเวลามาให้ข้อมูลกับ Techsauce ในการจัดทำบทสรุปรายงานประจำปี 2021

อ่านเนื้อหาส่วนที่ 1 ภาพรวมและข้อเสนอแนะได้ที่นี่

สรุปกิจกรรมและแนวโน้มรายอุตสาหกรรม

Blockchain

  • เทรนด์ที่มาแรงที่สุดในปีนี้และไม่มีท่าทีจะฮอตน้อยลง จากกระแสที่คนต้องการมีรายได้มากขึ้น และหาช่องทางการลงทุนท่ามกลางวิกฤตจากโควิด-19 แม้ราคา Cryptocurrency จะมีความผันผวนสูง และยังเป็นที่น่าจับตามองในเรื่องของนโยบายการกำกับดูแล

  • GameFi หลายคนคงได้ยินชื่อเกมอย่าง Axie ที่โด่งดังไปทั่วโลก เกมรูปแบบ Play-to-Earn ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เล่น แต่ขณะนี้ แรงจูงใจที่ทำให้คนเข้ามาจึงเป็นเรื่องเงินเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เนื้อหาหรือความสนุกของเกม และกลายเป็นรูปแบบ Click-to-Earn ซึ่งไม่ใช่รูปแบบที่ยั่งยืนนัก จึงควรจับตามองต่อไปว่าในอนาคตเหล่านักพัฒนาจะสามารถออกแบบเกมและ Content ให้คนเข้ามาเล่นเพื่อความสนุกไม่ใช่แค่เงิน แต่ก็มีระบบเศรษฐกิจภายในเกมที่มีการแลกเปลี่ยนและสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เล่นด้วย

  • Metaverse หนึ่งใน Buzz Word ที่เป็นที่พูดถึงกันอย่างมากหลังจากที่ Facebook ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น Meta และแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เน้น Virtual Reality ซึ่งช่วยกระตุ้น Virtual Influencer Adoption และ GameFi จึงมีนักลงทุนเริ่มเข้ามาสำรวจในพื้นที่นี้มากขึ้นอย่างเช่น SCB10X ที่ได้ลงทุนและสร้างสำนักงานใน Sandbox รวมถึงผู้ประกอบการด้านนี้ก็สามารถระดมทุนได้มากขึ้น เช่น GuildFi และนักพัฒนาไทยหลายรายได้พัฒนาสร้าง Metaverse ของตนเอง ด้านองค์กรต่างๆ ก็เริ่มให้ความสนใจมากขึ้น แต่อยู่ในช่วงศึกษาว่าจะเดินไปในโมเดลรูปแบบไหน ซึ่งตอนนี้ในไทยก็มี T&B Media Global เจ้าของ Translucia Metaverse แห่งแรกของไทย ที่กำลังจะเปิดตัว The Metaverse Thailand อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามน่าจะยังไม่เกิด Mass Adoption ในเร็วๆ นี้

  • NFT หรือ Non-Fungible Token เป็นอีกการใช้งานของ Blockchain ที่กลายเป็นเทรนด์อย่างรวดเร็วในปี 2021 โดยเฉพาะการใช้งาน NFT ในด้าน Media จากหลากหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งความเคลื่อนไหวโดยตรงอย่างการนำงาน Digital Art ขึ้นไปในขายบน NFT Exchange Platform ต่างๆ และการจัด NFT Art Event ของตัวเอง ทั้งยังมีความเคลื่อนไหวของ Corporate ไทย ไม่ว่าจะเป็น KASIKORN X ที่เปิดตัว Coral ในฐานะ NFT Platform ไทย ซึ่งร่วมกับสยามพิวรรธน์ นำเสนอผลงานของศิลปินไทยบนโลกดิจิทัล, GMM Grammy ที่จับมือกับ 4 Blockchain Developer อย่าง Bitkub, Zipmex Coral และ EAST พัฒนา Music NFT ต่อยอดมูลค่าของผลงาน, The Mall Group กับการร่วมมือกับ Bitkub จัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain และ NFT

  • จากความเคลื่อนไหวของ NFT ข้างต้น ส่งผลให้เกิด Movement ที่น่าติดตามใน Startup ด้าน Blockchain ที่สามารถนำเสนอ NFT Solution เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจได้  ยกตัวอย่างเช่น opn Blockchain Startup ด้าน Digital Commerce, SIX Network ผู้นำเสนอ Blockchain Solution สำหรับ Creative Industry รวมถึง Bitkub หรือ Zipmex ที่มีความพร้อมดังกล่าว ได้รับความสนใจ ซึ่งจะทำให้เกิดความเคลื่อนไหวที่น่าติดตามอีกมากในปี 2022 

  • CBDC (Central Bank Digital Currency) เป็นอีกเทรนด์ที่น่าจะเป็นไปได้ ฝั่งตลาดทุนมี project รออยู่แล้ว โดยประเมินว่าหากเกิดการใช้งานจริงก็ทำให้ต้นทุนของ payment ต่ำลง

  • DeFi ในไทยยังไม่เกิดการ Adoption ในวงกว้าง เนื่องจากเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเรื่องของตัวเทคโนโลยี, User Interface และลักษณะการลงทุน นอกจากนี้ยังมีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัยของสินทรัพย์ทั้งจากปัจจัยในตัวผู้ใช้อย่างความเชี่ยวชาญ หรือปัจจัยภายนอกอย่างการฉ้อโกงต่างๆ 

  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เปิดให้ผู้ประกอบการยื่นขอใบอนุญาตใน 5 กิจกรรม ได้แก่ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange), นายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker), ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเค็นดิจิทัล (ICO Portal), ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Dealer), ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล (Advisory Service) และกำลังพิจารณาการกำกับดูแลส่วนของ NFT Marketplace

    Highlight Deal  ในกลุ่มธุรกิจด้าน Blockchain ช่วงปี 2021 มีดังนี้

  • Bitkub ขายกิจการให้กับ SCBS ในสัดส่วนร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด เป็นมูลค่า 535 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถือเป็นความเคลื่อนไหวใหญ่ของอุตสาหกรรม Blockchain ในไทยประจำปี 2021

  • Zipmex ปิดการระดมทุนได้รับเงินลงทุนในการระดมทุนรอบ Series B รวม 41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก Plan B, MACO กรุงศรี ฟินโนเวต และนักลงทุนอีก 5 ราย โดย Zipmex เป็น Crypto Exchange ที่ให้บริการในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • GuildFi ปิดการระดมทุนรอบ Seed ได้เงิน 6 ล้านดอลลาร์ โดย DeFiance Capital และ Hashed และได้ระดมทุนอีกรอบด้วยวิธีการประมูลเหรียญในรูปแบบ Token Launch Auction (TLA) ผ่านแพลตฟอร์ม CopperLaunch ได้เงินมูลค่ากว่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายใน 3 วัน ซึ่ง GuildFi มีทีมผู้ก่อตั้งเป็นคนไทย โดยเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรม Blockchain เป็นอุตสาหกรรมที่เปิดกว้างในระดับโลก ทุกคนที่มีความสามารถก็สามารถคว้าโอกาสที่ดีได้

  • Cryptomind ปิดรอบการระดมทุนรอบ Seeds โดย Country Group Holdings และรอบ Pre-Series A โดย Beacon VC

FinTech

  • จากนโยบายเยียวยาสถานการณ์การระบาดของรัฐบาลที่ให้เงินสนับสนุนผ่านทาง e-wallet อย่างแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ประกอบกับกระแส Food delivery adoption ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายจำเป็นต้องมี Digital payment และ e-wallet จึงกระตุ้นให้เกิดการใช้ e-Payment ในระดับรากหญ้า และถือเป็นส่วนสำคัญของเทรนด์ Mass Digital Adoption ในไทย

  • การเปลี่ยนโครงสร้างของ SCB เป็น SCBX ถือเป็นความเคลื่อนไหวใหญ่ของวงการจากสถาบันการเงินมุ่งสู่ Tech Company ที่ต้องการเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และขยายไปยังธุรกิจประเภทอื่นที่ไม่ใช่แค่ภาคธุรกิจการเงิน โดยที่การปรับโครงสร้างจะทำให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น แตกบริษัทออกมาหลายบริษัทเพื่อให้โฟกัสธุรกิจใหม่ๆ 

  • SCB Abacus ปิดดีลระดมทุน Series A กว่า 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากนักลงทุนต่างชาติ นำโดย Openspace Ventures

  • SYNQA บริษัทแม่ของ Omise ฟินเทคสตาร์ทอัพไทย ควบรวมกิจการ Event pop โดยมีวัตถุประสงค์นำความเชี่ยวชาญด้าน Fintech ไปต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่น เช่น E-Commerce, Blockchain และ NFT ซึ่งเดิมที SYNQA มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ใช้ Blockchain Technology อยู่แล้ว โดยทีมงานผู้บริหารของ Event pop ได้เข้าไปบริหารงานบริษัทลูกของ SYNQA ที่ชื่อ opn

  • Ascend ผู้พัฒนา True Money ประกาศรับเงินลงทุนรอบใหม่ ก้าวสู่บริษัทมูลค่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยทั้งนี้ Ascend เป็นบริษัทที่ Spin off จาก True Corporation เพื่อพัฒนา Fintech Solution ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

E-Commerce and fulfillment

  • ตั้งแต่การแพร่ระบาดในปี 2019 ทำให้มีนโยบาย Lockdown ออกมา ส่งผลให้คนจำเป็นต้องซื้อของออนไลน์ กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยของ Mass Digital Adoption ซึ่งในปัจจุบันตลาด E-Commerce ไทยยังมีการแข่งขันที่สูง แม้จะเหลือผู้แข่งขันรายใหญ่เท่านั้นในตลาด 

  • อีกด้านหนึ่ง ธุรกิจสนับสนุนงานของ E-Commerce อย่าง Fulfillment ซึ่งทั้งสองธุรกิจนี้ก็มีการเติบโตสอดคล้องกัน โดยยังคงเป็นอุตสากรรมที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน  

  • วงการ E-commerce ในไทยยังเหลือช่องว่างที่สามารถจะขยายตลาดไปต่างประเทศได้ ด้วยการเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายที่มีความเฉพาะตัว เช่น Mercular หรือ sasom ซึ่งได้รับเงินระดมทุนในปีนี้ ล้วนแล้วแต่เป็น E-Commerce Platform ที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะและออกแบบวิธีให้บริการที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

  • นอกจากการระดมทุนแล้ว E-Commerce Startup ยังมีโอกาสที่จะเข้าสู่การระดมทุนแบบ IPO เป็นรายแรกของวงการ โดยเมื่อปลายปี 2021 ทาง aCommerce ผู้ให้บริการ E-Commerce Enabler ระดับภูมิภาค ยื่นไฟลิ่งขอเสนอขายหุ้น IPO เพื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และนอกจากนี้ ยังมี Pomelo เจ้าของ Platform ด้าน Fashion ที่มีแผน IPO ภายในอนาคตอันใกล้เช่นกัน

  • Mercular.com ได้เงินระดมทุนใน Series A กว่า 4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ จาก Kairous Capital, CyberAgent Capital, Nvest Ventures, Premiers, 500 TukTuks และ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 

  • Sasom รับเงินระดมทุนรอบ Pre-Series A จากเครือ Naver เกาหลีใต้ที่เป็นบริษัทแม่ของ LINE Corporation
  • MyCloudFulfillment ปิดดีลระดมทุนรอบ Series B จาก JWD และ SCB 10X มูลค่ากว่า 7.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

Logistics

  • จากกระแสการเติบโตของ E-Commerce ทำให้ธุรกิจขนส่งเติบโตไปด้วย ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดด้วยกลยุทธ์ทางราคา แต่ทั้งนี้ นักลงทุนไทยยังเชื่อในโอกาสจากอุตสาหกรรมนี้ เห็นได้จากการเข้า IPO ของ Kerry เมื่อปี 2020 และการลงทุนใน Flash Express ในปี 2021 จนทำให้กิจการกลายเป็น Unicorn Startup

  • สำหรับช่องว่างในอุตสาหกรรมนี้คือการให้บริการแบบ Business to Business (B2B) และ Cold Chain เพื่อขนส่งของสด เนื่องจากยังคงมีผู้เล่นไม่มาก แต่มีความต้องการสูงขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของ E-Commerce

  • Flash ปิดการระดมทุน Series D+ และ Series E รวมมูลค่ากว่า 150 ล้านดอลลาร์ โดย SCB 10X เป็นผู้ร่วมทุนใหญ่ในทั้ง 2 รอบ และใน Series E ได้โดย Buer Capital, eWTP, บริษัท ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน), บริษัท เดอเบล จำกัด (Durbell) และ Krungsri Finnovate ซึ่งการระดมทุนใน 2 รอบข้างต้นส่งให้ Flash กลายเป็น Startup ที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขึ้นสถานะ Unicorn

  • SKOOTAR ถูกซื้อกิจการโดยบริษัท วีเวนเจอร์ส เทคโนโลจีส์ จํากัด หนึ่งในบริษัทย่อยของบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จํากัด (มหาชน)

  • GIZTIX ได้รับเงินระดมทุน Series  B มูลค่ารวม 7.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก Bualuang Ventures และ WHA

Online Service

  • อุตสาหกรรมการบริการแบบเดิมจำเป็นต้องมี Human Touch ซึ่งไม่สามารถทำได้ในช่วงสถานการณ์การระบาด แม้บางธุรกิจจะมีการปรับตัวโดยการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการจองเพื่อให้บริการแบบ 1-1 หรือบริการแบบ At Home แต่รายรับของผู้ประกอบการก็ยังไม่กลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนหน้า 

  • Food Delivery เป็นธุรกิจหนึ่งที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีมูลค่าตลาดกว่า 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2021 โดยการขยายตัวของบริการนี้กระจายไปยังทุกภูมิภาคไม่ใช่แค่เพียงหัวเมือง อย่างไรก็ตามแม้ผู้เล่นแต่ละรายจะมีรายได้มากขึ้น แต่ยังคงประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากมีการแข่งขันที่สูงจึงมีต้นทุนในการทำการตลาดที่สูงเช่นกัน

  • Food Delivery ในไทยได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 โดยออกแบบบริการบนออนไลน์ได้ทั้งหมดแบบครบวงจร ตั้งแต่การสั่งอาหารไปจนถึงการชำระเงิน ถือเป็นก้าวหนึ่งของการพัฒนาด้าน Digital Adoption ในระดับมวลชนที่น่าสนใจ

  • สรุปแล้วแม้อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด และมีแน้วโน้มที่จะยังโตได้อีกมาก แต่ก็มีการแข่งขันที่สูงเช่นกัน ดังนั้นการหาช่องว่างหรือตลาดเฉพาะจึงเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการใหม่เช่นเดียวกับอุตสาหกรรม E-commerce

  • นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมนี้คือการเกิดและการให้บริการของ Startup ด้าน Online Service นอกกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากหัวเมืองใหญ่ในภาคใต้และภาคอีสาน ทั้งนี้ Startup แบบ Local มีข้อดีคือการมี Insight ในพื้นที่ให้บริการจึงสามารถเติบโตและแข่งขันกับผู้ให้บริการรายใหญ่ที่ขยายมาพื้นที่ได้ อีกทั้งยังมีเครือข่ายนักลงทุนภูมิภาคซึ่งสนับสนุนกิจกรรมของธุรกิจได้ดี

  • Gojek ประเทศไทยขายกิจการให้กับ Airasia โดยมีเป้าหมายพัฒนา Online Service เพื่อให้บริการครอบคลุมภูมิภาคอาเซียน

Business solution

  • หลังจากที่ธุรกิจต้อง Transform สู่ digital อุตสาหกรรมนี้ก็เติบโตอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น SaaS, CRM หรือ Cybersecurity   เห็นได้จากจำนวนดีลที่ระดมทุนได้ในปี 2021 ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้มากที่สุดถึง 11 ดีล มากกว่าอันดับ 2 อย่างบล็อกเชนเกือบเท่าตัว

  • เทรนด์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นเทรนด์ระดับภูมิภาคเนื่องจากความต้องการใช้งาน Digital Tools ในภาคธุรกิจที่เติบโตขึ้นทั้งจากกระแส Digital Disruption รวมถึงเทรนด์การทำงานแบบ Work From Anywhere ซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลก โดย Startup ไทยที่พัฒนา Business Solution เองก็มีโอกาสนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้แก่ธุรกิจในต่างประเทศได้

  • การระดมทุนที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ประกอบด้วย Flow Account ได้เงินลงทุน 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รอบ Series A จาก Sequoia Capital India และ PEAK ได้เงินระดมทุน Series A จาก Bualuang Ventures และ Krungsri Finnovate 

Education

  • เนื่องจากการระบาดทำให้การเรียนการสอนต้องปรับมาใช้ระบบออนไลน์ EdTech จึงมีผู้ใช้งานมากขึ้นจำนวนมาก ทั้งกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้งานอย่างกลุ่มนักเรียนนักศึกษา หรือพนักงานที่เข้ารับการอบรมจากหน่วยงาน 

  • นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่ให้บริการสำหรับบุคคลทั่วไป มีทั้งคอร์สสำหรับ Re-Skill และ Up-skill โดยมีคอร์สที่สอนทั้ง Soft skill และ Hard skill อย่างไรก็ตามด้วยอุปสรรคทางภาษาที่ลดลงทำให้การเข้ามาของธุรกิจการศึกษาจากต่างประเทศเป็นที่นิยมเช่นกัน โดยเฉพาะคอร์สจากสถาบันที่มีชื่อเสียงที่ให้ใบรับรอง

  • อย่างไรก็ตามการลงทุนในเรื่องของทักษะความรู้ยังคงเป็นสิ่งสำคัญเสมอ โดยเฉพาะในยุคที่มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้น งานหลายอย่างถูก AI เข้ามาทดแทน เช่น กระบวนการที่ถูก automate หรือ งานบางอย่างมีเครื่องมือต่างๆ มาจัดการเพื่อลด human error ซึ่งทำให้เราต้องพัฒนาทักษะให้มากขึ้นเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง  ดังนั้นอุตสาหกรรมนี้จึงเป็นที่น่าจับตามองของนักลงทุน

  • Conicle Startup ปิดการระดมทุนรอบ Series A มูลค่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย Intouch Holdings 

Healthcare

  • ในช่วงหลายปีที่ผ่านเทรนด์รักสุขภาพมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นสินค้า และบริการในอุตสาหกรรมนี้จึงยังคงเป็นที่สนใจของนักลงทุน และมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

  • ผลกระทบจากช่วง Lockdown ทำให้ธุรกิจรูปแบบ Telemedicine เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายธุรกิจได้เป็นวงกว้าง ซึ่งปัจจุบันมีสตาร์ทอัพต่างชาติเข้ามาตีตลาดในไทยมากขึ้น รวมถึงในประเทศไทยยังมีการผ่อนปรนเกณฑ์ด้าน Telemedicine เพื่อให้กิจการสามารถเสนอบริการได้ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นพิเศษ

  • อย่างไรก็ตามนอกจากส่วนของ Digital Service อย่าง Telemedicine แล้ว ก็ยังมี MedTech ซึ่งเป็นผู้คิดค้นยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่น่าจับตามอง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมโดยนักวิจัยและผู้ประกอบการชาวไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยที่เริ่มมีการผลักดันงานวิจัยให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์รวมถึงบ่มเพาะให้เป็นธุรกิจได้จริง อาทิเช่น “ใบยาไฟโตฟาร์ม” startup จากจุฬาฯ ผู้ผลิตวัคซีนโควิดจากพืชแห่งแรกของเอเชีย

  • True Incube ลงทุนในบริษัท Chiiwii ด้วยยอดเงิน 1.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจับมือร่วมกับ True Digital เปิดตัว True Health

  • Mineed ซึ่งเป็น Startup ด้าน Medtech ปิดรอบการระดมทุน Seed Round ที่มูลค่า 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมี Thai Oil PLC และ BDMS ร่วมลงทุน

Insurance

  • แม้ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดโควิด 19 อุตสาหกรรมประกันภัยจะมีความเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ดี เห็นได้จากประกัน COVID-19 ที่ขายหมดในเวลารวดเร็ว อย่างไรก็ตามบริษัทประกันหลายแห่งประสบปัญหาขาดทุนจากการขายประกันโควิดเนื่องจากการคำนวนเรื่องความเสี่ยงกับผลตอบแทน เพราะเป็นอุบัติการณ์ใหม่จึงไม่มีสถิติที่ชัดเจน รวมถึงเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

  • สืบเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อธุรกิจต้องพุ่งเป้ากับโรคระบาดทำให้ส่วนของ InsureTech ในปีนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน โดยยังคงเป็นเทรนด์เดียวกับปี 2020 คือการหันมาซื้อประกันภัยทางออนไลน์เพิ่มขึ้น

  • อีกด้านหนึ่ง หน่วยงานกำกับดูแลอย่าง คปภ. มีความเข้มงวดในการเข้ามากำกับดูแลมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ขาดทุนของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อลูกค้าจำนวนมาก

  • ด้านการระดมุทนเป็น ยังคงมีการะดมทุนในกิจการ InsureTech รายเดิมหรือเป็นการระดมทุนในระดับ Growth Stage โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Tech Enabler ในอุตสาหกรรมประกันภัย

  • Fairdee ควบรวมกิจการกับ Qoala จากอินโดนีเซีย

  • Sunday ระดมทุนรอบ Series  B ได้ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำโดย Tencent, SCB 10X, Vertex Growth and Vertex Ventures Southeast Asia & India, Quona Capital, Aflac Ventures และ Z Venture Capital

  • AppMan ปิดการระดุมทุน Series A ด้วยมูลค่า 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยกองทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุนสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีก้าวไกลไปด้วยกัน 1, กรุงศรี ฟินโนเวต, บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), กลุ่มบริษัทสถาบันการเงิน KTBST Group และ POEMS Ventures 

Media

  • กิจกรรมหลักในช่วง Lockdown ของหลายคนคือการเสพสื่อทำให้อุตสาหกรรมสื่อมีการแข่งขันที่สูงขึ้นโดยเฉพาะ Streaming platform ที่มีทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่เดิมในไทย รวมถึงผู้เล่นใหญ่ต่างชาติอย่าง Disney Plus ซึ่งนำภาพยนตร์ชนโรงของตัวเองมาฉายในช่วง Lockdown ซึ่งโรงภาพยนตร์งดให้บริการ

  • นอกจากต่างชาติแล้ว กิจการสื่อขนาดใหญ่ในประเทศไทยเองก็ได้พัฒนา Streaming Platform เป็นของตัวเองเพื่อให้บริการเนื้อหาเฉพาะ โดยมีราคาที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการต่างชาติ

  • หลายแพลตฟอร์มให้ผู้ใช้งานสามารถลงสื่อได้ด้วยตัวเอง (User Generated content) ซึ่งเป็นกระแสอย่างมากตั้งแต่ช่วงต้นของการระบาด แต่ยังคงมีปัญหาในเรื่องของการตรวจสอบเนื้อหา และรูปแบบการสร้างรายได้ที่ยังไม่ตอบโจทย์ Content Creator ชาวไทย

  • กิจการประเภทหนึ่งที่น่าสนใจคือกลุ่ม Marketing Tools เช่น Social Media Listening ก็เป็นที่ต้องการของตลาด โดยในปี 2021 มีการระดมทุนของ Wisesight Startup ผู้พัฒนาระบบวิเคราะห์ Social Media ได้รับเงินลงทุนรอบ Series B ไปถึง 7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก Krungsri Finnovate และ TechMetric บริษัทเทคโนโลยีของญี่ปุ่น

  • นอกจากนี้ธุรกิจกลุ่ม Streaming Platform ก็ถือเป็นภาคหนึ่งที่หน่วยงานกำกับดูแลให้ความสนใจทั้งในด้านการสนับสนุนและการกำกับดูแลเนื้อหาเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค

  • Fourgle ได้รับเงินทุนจากรอบ Seed Fund จำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก Angel Investor

  • Ookbee ผู้ให้บริการ Content Platform ประกาศระดมทุนด้วย Convertible Debt เพื่อขยายกิจการ

อสังหาริมทรัพย์

  • ในภาพรวมของอุตสาหกรรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีความซบเซา ทั้งจากปัจจัยของผู้ซื้อที่ชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งมานักลงทุนรายย่อยเปลี่ยนไปตามกระแสการลงทุนในรูปแบบอื่น บริษัทอสังหาฯ มีการปรับตัวไปตามทิศทางตลาด และส่วนหนึ่งเพื่อดึงความสนใจจากตลาดมากขึ้น โดยจับมือกับพาร์ตเนอร์ด้าน Cryotocurrency Platform ในไทยให้ชำระโดยเงินสกุลดิจิทัลเพื่อเพิ่มโอกาสในการขาย

  • แม้จะมีมาตรการหยุดงานก่อสร้างในโครงการต่างๆ ตามมาตรการ Lockdown แต่กลุ่มธุรกิจยังคงสามารถดำเนินกิจกรรมบางอย่างต่อไปได้ ทั้งยังมีการใช้งาน Digital Platform เพื่อจัดการโครงการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเปลี่ยนมาใช้ e-Document และ e-Procurement อยู่ โดยบริการดังกล่าวมีส่วนต่อการลดต้นทุนบริหารจัดการและช่วยให้โครงการดำเนินไปได้ดีขึ้น

  • PropTech ยังไม่ค่อยถูกพูดถึงในปีนี้เนื่องจากภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา แต่ถ้าตลาดเริ่มฟื้นตัวและมีการพัฒนาของส่วนนี้มากขึ้นจะทำให้เป็นที่ถูกจับตามองอีกครั้ง 

  • RentSpree ปิดระดมทุน Series A ด้วยมูลค่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำโดย 645 Ventures, Green Visor Capital และ Vesta Ventures โดย RentSpree มีผู้ก่อตั้งเป็นคนไทย 

  • Think of living และ prakad.com เว็บไซต์ให้บริการข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยภายใต้บริษัท REA Group จากประเทศมาเลเซีย ถูกซื้อกิจการโดย  PropertyGuru บริษัทผู้พัฒนาเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ระดับภูมิภาคเจ้าของ DD Property โดย PropertyGuru ได้ทำการซื้อหุ้นทั้งหมดของ REA Group สำหรับกิจการในไทยและมาเลเซีย

AgriTech-FoodTech

  • แม้จะยังไม่มีความเคลื่อนไหวใหญ่ในผู้ประกอบการสาย Food Tech ของไทยในปีนี้ แต่ผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมนี้อย่าง Plant base ก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น และสามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งทั้ง AgriTech-FoodTech ก็ต่างอยู่ในความสนใจของนักลงทุน และเป็นกระแสที่น่าจับตามองต่อไป 

  • ไทยยูเนี่ยนจัดตั้งกองทุน Venture Fund มูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อลงในด้าน Cell-Based Seafood และมีการร่วมมือกับ Fuchsia Venture Capital ของ Muang Thai Group Holding ลงทุนใน Alchemy FoodTech 

  • Ricult ปิดการระดมทุนรอบ Pre-Series A มูลค่า 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย Sojitz Corporation, elea Foundation, Bualuang Venture และ Krungsri Finnovate

ท่องเที่ยว และ MICE

สำหรับภาคอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยวและ MICE ยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักและต่อเนื่องจากการระบาดตั้งแต่ต้นปี 2020 และน่าจะต้องใช้เวลาอีกสักพักในการฟื้นตัว แม้ว่าจะมีนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐที่ช่วยกระตุ้น หรือกระแส Staycation ที่ช่วยให้ธุรกิจยังพอไปต่อได้ก็ตาม

เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายในการใช้ชีวิตของคนต่างชาติจำนวนมาก ด้วยค่าครองชีพที่ไม่สูงประกอบกับ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และการบริการที่ดี ดังนั้นถ้ามีนโยบายที่เอื้อให้เหล่า digital nomad เข้ามาในไทย จะช่วยทำให้ Staycation มีมากขึ้น มีปริมาณเงินเข้ามาในเศรษฐกิจรายย่อยเพิ่มขึ้น

ค้าปลีก

ในภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีกในปี 2021 ยังคงซบเซาจากสถานการณ์การระบาด แต่เริ่มดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายจากการคลาย Lockdown และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ อย่างไรก็ตามแม้ว่าเหล่าผู้ประกอบการจะมีการปรับตัวโดยการใช้เทคโนโลยี หรือแพลตฟอร์มออนไลน์เข้ามาช่วย แต่ก็เป็นเพียงแนวทางที่ทำให้พอจะอยู่รอดได้เท่านั้น เนื่องจากต้องแข่งขันกับผู้เล่น E-Commerce เดิมที่มีการแข่งขันที่สูงอยู่แล้ว

Deep tech

แม้อุตสาหกรรม DeepTech จะยังไม่ได้เป็นที่ถูกพูดถึงมากในปีที่ผ่านมา และถือเป็นระยะเวลานานในการพัฒนา จึงอาจยังไม่เห็นตัวผลงานที่จับต้องได้ นอกจากการระดมทุนของ Mineed ที่ถือเป็น Deep Tech Startup ในอุตสาหกรรม Healthcare อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยในปัจจุบันในแผนพัฒนาและส่งเสริมของหน่วยงานอย่าง NIA มีกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้วกับหลายภาคส่วนและสร้าง Impact ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้ ไม่เพียงเท่านี้ในเครือข่ายต่างประเทศ ยังมีความร่วมมือระหว่าง Hello Tomorrow กับ Techsauce ในการผลักดัน DeepTech Startup ทั้งในรูปแบบพันธมิตรและการลงทุน ซึ่งทั้ง 2 ส่วนที่กล่าวมานี้ จะเป็นกิจกรรมที่จะได้เห็นกันในปี 2022

นอกจากอุตสาหกรรม DeepTech ที่น่าจับตามองสำหรับนักลงทุนในอนาคตแล้ว ยังมีอุตสาหกรรมที่น่าสนใจอย่าง EnergyTech ด้วยการสนับสนุนด้านการผลิตและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า และความเคลื่อนไหวโดยเฉพาะของผู้เล่นรายใหญ่และหน้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตยานยนต์ บริษัทพลังงาน ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ อาทิเช่น การจัดตั้ง InnoPower หน่วยงานนวัตกรรมอันเกิดจากความร่วมมือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ราช กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด ส่วนตัวอย่างของ Transportation Startup ที่เน้นด้านพลังงานไฟฟ้า อาทิ  Etran , MuvMi

ธุรกิจด้านพลังงาน สภาวะโลกร้อน สิ่งแวดล้อม และกลุ่มของ ClimateTech กำลังเป็นเทรนด์สำคัญที่กำลังมาทั่วโลก และจะมีความเคลื่อนไหวอย่างมากนับจากนี้เป็นต้นไป

-------------------------------------------------------------------------------------------

อ่านเนื้อหาส่วนที่ 1 ภาพรวมและข้อเสนอแนะได้ที่นี่

สำหรับรายละเอียดและข้อมูลเชิงลึก เตรียมติดตามได้ใน 

Techsauce Tech Startup Ecosystem Report 2021 ภายในเดือนมีนาคมนี้


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...